วันพฤหัสบดีที่ 30 ตุลาคม พ.ศ. 2557

ความหมายความสำคัญและประโยชน์ของของเทคโนโลยีการสอน



1. ความหมายความสำคัญและประโยชน์ของของเทคโนโลยีการสอน
       1.1 ความหมายของเทคโนโลยีการสอน
              1.1.1 ความหมายของเทคโนโลยี  (Technology)  เทคโนโลยีตามพจนานุกรมได้ให้รากศัพท์ของคำ  “Technology”  ไว้ว่า  Technology  มาจากคำภาษากรีก  tekhnologia  หมายถึง  การกระทำอย่างเป็นระบบของศิลปะโดยมาจากคำว่า  tekhne  ( art , skill )+o+logia (logy )  และได้ให้ความหมายไว้  3 ประเด็น  คือ
                     1. การประยุกต์ใช้ความรู้ในเชิงปฏิบัติโดยเฉพาะอย่างยิ่งในสาขาวิชาเฉพาะ  เช่น  เทคโนโลยีทางการแพทย์   เป็นสมรรถนะที่เอื้อประโยชน์โดยการประยุกต์ใช้ความรู้ในเชิงปฏิบัติ  เช่น  เทคโนโลยีเพื่อช่วยประหยัดน้ำมันของรถยนต์
                   2. การกระทำเพื่อให้งานสำเร็จลุล่วงไปได้โดยเฉพาะอย่างยิ่งด้วยการใช้กระบวนการ  วิธีการ  หรือความรู้ด้านเทคนิค  เช่น  เทคโนโลยีใหม่ในการเก็บข้อมูล
                      3.ลักษณะพิเศษของขอบเขตสาขาวิชาเฉพาะ  เช่น  เทคโนโลยีการศึกษาสมาคมการศึกษาเทคโนโลยีระหว่างประเทศ  (International  Technology  Education  Association  :  ITEA)  ได้ให้ความหมายของ  International  ไว้  2  ประเด็น  ได้แก่
                                3.1นวัตกรรมของมนุษย์ในการกระทำซึ่งรวมถึงการก่อเกิดความรู้และกระบวนการในการพัฒนาระบบเพื่อการแก้ปัญหา  และขยายขีดความสามารถของมนุษย์
                                3.2นวัตกรรมความเปลี่ยนแปลงหรือการดัดแปลงของสิ่งแวดล้อมทางธรรมชาติเพื่อสนองความจำเป็นและความต้องการของมนุษย์ ความหมายตามพจนานุกรม  ฉบับราชบัณฑิตยสถาน  (2542: 538)  ว่าเทคโนโลยีเป็น  “วิทยาการที่เกี่ยวกับศิลปะในการนำเอาวิทยาศาสตร์ประยุกต์มาใช้ให้เกิดประโยชน์ในทางปฏิบัติและอุตสาหกรรม”
       ดังนั้นจากความหมายที่กล่าวมาทั้งหมดจึงสรุปได้ว่าดังนี้  “เทคโนโลยีเป็นการนำแนวคิด  หลักการ  เทคนิค  ความรู้  ระเบียบวิธี  กระบวนการ  ตลอดจนผลผลิตทางวิทยาศาสตร์ทั้งในด้านสิ่งประดิษฐ์และวิธีการปฏิบัติมาประยุกต์ใช้เพื่อขยายขีดความสามารถของมนุษย์ช่วยให้การทำงานดีขึ้น  และเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสิทธิผลของงานนั้นให้มีมากยิ่งขึ้น”
              1.1.2 ความหมายของการสอน   (Instruction) 
                      1.การสอน  (Instruction)  คือ  การกระทำทั้งหลายที่เป็นระบบของครูเพื่อส่งเสริมให้เกิดความสะดวกต่อการเรียนรู้ของผู้เรียน
                      2.การสอน  (Instruction)  คือ  การถ่ายทอดความรู้จากบุคคลหนึ่งไปยังอีกบุคคลหนึ่ง  การสอนเป็นการสร้าง  การใช้  และปรับปรุงยุทธศาสตร์และยุทธวิธีของการสอนในห้องเรียน
                      3.การสอน  (Instruction)  คือ  การกระทำที่เป็นระบบของครูเพื่อสร้างภาวะอันจะก่อให้เกิดความสะดวกแก่การเรียนรู้ของผู้เรียน
       โดยสรุปแล้วการสอน  หมายถึง  “เป็นการกระทำที่เป็นระบบของครูเพื่อสร้างภาวะอันจะก่อให้เกิดความสะดวกแก่การเรียนรู้ของผู้เรียน”
              1.1.3 ความหมายของเทคโนโลยีการสอน   (Instructional  Technology ) 
                            1. เทคโนโลยีการสอน  (Instructional  Technology)  หมายถึง  ระบบและวิธีการในการประยุกต์เกี่ยวกับยุทธศาสตร์และเทคนิควิธีการที่มีพื้นฐานมาจากทฤษฎีการเรียนรู้  เช่น  พฤติกรรม (Behaviorism)  พุทธิปัญญานิยม  (Cognitivism)  และคอนสตรัคติวิสต์  (Constructivism)  นำมาใช้ในการแก้ปัญหาเกี่ยวกับการเรียนการสอน
                         2. เทคโนโลยีการสอน  (Instructional  Technology)  หมายถึง  การออกแบบ  การพัฒนาการใช้และการประเมินผลการเรียนการสอนอย่างเป็นระบบโดยยึดจุดประสงค์เฉพาะ  เพื่อให้เกิดผลเป็นการสอนที่มีประสิทธิภาพ
                         3. เทคโนโลยีการสอน  (Instructional  Technology)  หมายถึง  ระบบหรือเทคนิคที่ประยุกต์มาจากพฤติกรรม  ความรู้ความสามารถและทฤษฎีต่างๆ  เพื่อแก้ปัญหาทางด้านการเรียนการสอน  เทคโนโลยีการเรียนการสอนจึงมีความหมายเกี่ยวข้องกับอุปกรณ์หรือการใช้เครื่องมือเพื่อถ่ายทอดองค์ความรู้
                         4. เทคโนโลยีการสอน  (Instructional  Technology)  หมายถึง  เป็นส่วนหนึ่งของเทคโนโลยีการศึกษา  ซึ่งหมายถึง  การเทคโนโลยีมาใช้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการเรียนการสอนเทคโนโลยีการศึกษาที่กล่าวถึงกันส่วนใหญ่  จึงเป็นเรื่องของเทคโนโลยีทางการเรียนการสอน
                         5. เทคโนโลยีการสอน  (Instructional  Technology)  เป็นการนำเทคโนโลยีมาใช้เฉพาะในด้านการเรียนการสอนจึงเรียกว่า  " เทคโนโลยีการสอน "  ซึ่งมีการใช้กันอย่างกว้างขวางในทุกระดับของการศึกษาและรวมไปถึงในวงการทหารและวงการธุรกิจอุตสาหกรรมก็มีการใช้เทคโนโลยีในการฝึกอบรมด้วยเช่นกัน  ดังนั้นเทคโนโลยีการสอนจึงเป็นการรวมสื่อการสอนทั้งในด้านวัสดุอุปกรณ์ วิธีการที่มีระบบเพื่อการออกแบบการสอนและหลักการด้านจิตวิทยา  สังคมศาสตร์และวิทยาศาสตร์กายภาพรวมถึงการสื่อสารของมนุษย์มาใช้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการเรียนการสอน  เช่น  การนำคอมพิวเตอร์มาใช้เป็นคอมพิวเตอร์ช่วยสอน  การใช้ดาวเทียมเพื่อถ่ายทอดสดการสอนจากซีกโลกหนึ่งไปยังอีกซีกโลกหนึ่ง เป็นต้น
       กล่าวโดยสรุปแล้วเทคโนโลยีการสอนเป็นการจัดการเกี่ยวกับการสอนที่มีระบบเพื่อให้เกิดการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ
ดังนั้น   เทคโนโลยีการสอน  =  การออกแบบการสอน  +  การพัฒนาการสอน

       1.2 การเปรียบเทียบความแตกต่างระหว่างเทคโนโลยีการศึกษา และเทคโนโลยีการสอน
              เทคโนโลยีการศึกษาและเทคโนโลยีการสอน  (Educational  Technology  and  Instructional Technology)  (กิตติคุณ ชลวิถี, ทศพร แสงสว่าง, 2551)  คำ  2  คำนี้มีความหมายแตกต่างกันและคล้ายคลึงกันในบางส่วน  ดังนั้นเพื่อให้เห็นถึงความแตกต่างเด่นชัดมากขึ้นจึงขอนำเสนอการเปรียบเทียบเป็นแนวคิด ดังนี้
ตารางที่  1  การเปรียบเทียบความแตกต่างระหว่างเทคโนโลยีการศึกษา และเทคโนโลยีการสอน
เทคโนโลยีการศึกษา
Educational Technology
เทคโนโลยีการสอน
Instructional Technology
1. เป็นกระบวนการทั้งทางทฤษฎีและปฏิบัติสำหรับดำเนินการจัดการเกี่ยวกับการศึกษาในระบบใหญ่ด้านการบริหาร  การบริการและการเรียนการสอนเพื่อการเรียนรู้ของมนุษย์
2. เป็นตัวกำหนดบทบาทหน้าที่ และแก้ปัญหาของพัฒนาการด้านการศึกษา (Educational Development Functions) เกี่ยวกับการวิจัย การออกแบบ การผลิต การประเมิน การสนับสนุน การใช้และเผยแพร่การศึกษา
3. กระบวนการกำหนดบทบาทหน้าที่การจัดการด้านการศึกษา (Educational Management Functions)  เป็นทางการมีระเบียบ แบบแผนปฏิบัติอย่างเป็นระบบ เช่น  การกำหนดนโยบายแผนการศึกษางบประมาณสนับสนุน  ฯลฯ  ในองค์กรที่เกี่ยวกับการศึกษา
4. เป็นระบบที่อยู่ในความดูแลรับผิดชอบและสนับสนุนของฝ่ายบริหารในองค์กร
1. เป็นส่วนประกอบย่อยๆส่วนหนึ่งของเทคโนโลยีการศึกษาซึ่งถูกนำมาใช้เพื่อแก้ปัญหาทุกอย่างที่เกี่ยวกับการเรียนรู้ของมนุษย์
2. เป็นตัวกำหนดบทบาทหน้าที่และแก้ปัญหาของพัฒนาการด้านการสอน  (Instructional  Development Functions)  เกี่ยวกับการวิจัย  การออกแบบ  การผลิต การประเมิน  การสนับสนุน  การใช้และการเผยแพร่ การเรียนการสอน
3. กระบวนการกำหนดบทบาทหน้าที่ในการจัดการด้านการสอน (Instructional Managements Function) ในองค์กร และการสอนของผู้สอนแต่ละคน เกี่ยวกับการว่างแผนการสอน กำหนดสื่อ กิจกรรม การวัดประเมินผล และออกแบบระบบการสอน
4. เป็นส่วนหนึ่งของระบบอยู่ในความดูแลและรับผิดชอบของผู้ปฏิบัติการคือผู้สอนแต่ละคน
5.เป็นการใช้เทคโนโลยีในการถ่ายทอดเนื้อหาโดยมีกระบวนการการเรียนรู้ร่วมกันระหว่างผู้สอนกับผู้เรียน

ตารางแสดงการเปรียบเทียบความแตกต่างระหว่างเทคโนโลยีการศึกษา และเทคโนโลยีการสอน
(ที่มา  :  http://2educationinnovation.wikispaces.com/%E0%B8%ABA7%E0%B8%)
1.2.1 สรุปความเหมือน และความแตกต่างของเทคโนโลยีการศึกษา และเทคโนโลยีการสอน  
                                1. ความเหมือน  เป็นกระบวนการที่ต้องใช้ทฤษฎีและปฏิบัติมาประยุกต์ใช้อย่างมีระบบ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานและศักยภาพของมนุษย์ให้สูงขึ้นและมีทรัพยากรในการปฏิบัติการเหมือนกันคือ  มีบุคลากร  วัสดุ  อุปกรณ์  เทคนิควิธีการ  ความรู้  และสิ่งอำนวยความสะดวก      
                                2. ความแตกต่าง  แตกต่างกันที่จุดประสงค์ของการใช้เทคโนโลยีการศึกษานำมาใช้ในการศึกษา  ส่วนเทคโนโลยีการสอนนำมาใช้แก้ปัญหาในการเรียนการสอน  ซึ่งเทคโนโลยีการศึกษา เป็นระบบใหญ่ที่นำมาใช้ในการบริหาร  การจัดการและการเรียนการสอนส่วนเทคโนโลยีการสอนมุ่งเฉพาะ การสอนเท่านั้น และเป็นเพียงส่วนประกอบย่อยของเทคโนโลยีการศึกษา  นอกจากนี้เทคโนโลยีการศึกษาเป็นบทบาทหน้าที่และความรับผิดชอบของผู้บริหารและผู้สนับสนุน  แต่เทคโนโลยีการสอนเป็นบทบาทหน้าที่  ความรับผิดชอบของผู้สอนในการบริหารจัดการเรื่องการสอนเพื่อให้เกิดกระบวนการเรียนรู้ร่วมกันระหว่างผู้สอนกับผู้เรียน
       การพิจารณาขอบข่ายของการประเมินการศึกษาให้ครอบคลุมนั้น สามารถใช้ทฤษฎีเชิงระบบ มาช่วยกำหนดแนวทางการประเมินในลักษณะของปัจจัยนำเข้า  (Inputs)  กระบวนการ  (Processes)  และผลผลิต (Outputs) รวมทั้งใช้ส่วนที่เกี่ยวข้อง คือ บริบท (Contexts) ผลลัพธ์ กับผลกระทบ (Outcomes/Impacts)  และข้อมูลย้อนกลับ  เพื่อนำไปสู่การพัฒนาความพร้อมสำหรับการเรียนรู้จากการพัฒนาความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี  โดยมีการปรับเปลี่ยนเทคโนโลยีโดยเฉพาะเทคโนโลยีสารสนเทศที่มีผลต่อภาคการศึกษาหรือที่เรียกว่า  เทคโนโลยีการศึกษา  (Education Technology)  ซึ่งเน้นการให้ความสะดวกในด้านการบริหารจัดการ  การบริการและการจัดการเรียนการสอนหลักการประเมินนวัตกรรมเพื่อการเรียนรู้ 
       1.3 ความสำคัญของเทคโนโลยีการสอน  การนำเอาเทคโนโลยีการสอนมาใช้นั้นส่วนใหญ่นำมาใช้ในการแก้ปัญหาในด้านการศึกษาก็เช่นเดียวกัน เพราะปัญหาทางด้านการศึกษามากมาย เช่น
                                1. ปัญหาผู้สอน
                                2. ปัญหาผู้เรียน
                                3. ปัญหาด้านเนื้อหา
                                4. ปัญหาด้านเวลา
                                5. ปัญหาเรื่องระยะทาง
       นอกจากนั้นการนำเทคโนโลยีการศึกษามาใช้ในการเรียนการสอนก็เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพทางการเรียนการสอนและเพิ่มประสิทธิผลทางการศึกษาอีกด้วย
       คณะกรรมการเกี่ยวกับเทคโนโลยีการศึกษาแห่งชาติสหรัฐอเมริกา  (The  Commission  on Instruction  Technology)  สรุปว่าเทคโนโลยีการสอนมีความสำคัญต่อการศึกษา  ดังนี้
                            1. เทคโนโลยีการสอน  สามารถทำให้การเรียนการสอน  การจัดการศึกษามีความหมายมากขึ้น กล่าวคือ  การนำเทคโนโลยีการสอนเข้ามาใช้ในการศึกษาจะช่วยให้ผู้เรียนเรียนได้กว้างขวางขึ้น  เรียนได้เร็วขึ้น  ได้เห็นหรือสัมผัสกับสิ่งที่เรียนและเข้าใจได้อย่างสมบูรณ์และยังทาให้ครูมีเวลาให้แก่นักเรียนมากขึ้น
                           2. เทคโนโลยีการสอน  สามารถสนองเรื่องความแตกต่างระหว่างบุคคลได้ในเรื่องนี้จะพบว่าในการนำเอาเทคโนโลยีการสอนเข้ามาใช้กับการศึกษานั้น ผู้เรียนจะมีอิสระในการ เสาะแสวงหาความรู้ มีความรับผิดชอบทั้งแก่ตนเองและสังคมมากขึ้น ดังนั้น การนำเทคโนโลยีการเรียนการสอนเข้ามาใช้กับการศึกษาจึงเปรียบเสมือนการเปิดทางให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ตามความสามารถ ของเขา สนองเรื่องความสนใจและความต้องการของแต่ละบุคคลได้เป็นอย่างดี
                                            3. เทคโนโลยีการสอน  สามารถทำให้การจัดการศึกษาตั้งอยู่บนรากฐานของวิธีการทางวิทยาศาสตร์เป็นที่ยอมรับกันแล้วว่าในปัจจุบันวิธีการทางวิทยาศาสตร์เป็นวิธีการหนึ่งที่สร้างความเจริญก้าวหน้าให้แก่ทุกวงการ  การนำเทคโนโลยีการสอนเข้ามาใช้กับการศึกษาจึงทำให้การจัดการศึกษามีระบบมากขึ้น  มีการค้นคว้าวิจัยทดลองและค้นพบวิธีการแนวทางใหม่ๆ  อยู่เสมอและสมเหตุสมผลตามสภาพการณ์ความเปลี่ยนแปลงของสังคม จึงทำให้การจัดการศึกษา  ซึ่งเป็นรากฐานสำคัญของระบบสังคมเจริญก้าวหน้าอย่างไม่หยุดยั้ง
                           4. เทคโนโลยีสอน  ช่วยให้การจัดการศึกษามีพลังมากขึ้น  สิ่งหนึ่งที่มีบทบาทสำคัญในการสอนและการจัดการศึกษาก็คือสื่อ  ซึ่งนับวันจะพัฒนาตัวของมันเองให้มีคุณค่าและสะดวกสบายต่อการใช้มากขึ้น  สื่อเป็นผลผลิตอย่างหนึ่งของความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีพลังของสื่อมีมากเพียงใดก็เป็นที่ทราบกันดีอยู่แล้ว  ดังนั้นการนาสื่อการศึกษาอันเป็นส่วนหนึ่งของเทคโนโลยีการศึกษามาใช้จึงเป็นเครื่องยืนยันได้ว่าการจัดการนั้นจะมีพลังมากขึ้น
                           5. เทคโนโลยีการสอน สามารถทำให้การเรียนรู้อยู่แค่เอื้อม  ในการศึกษามิได้จากัดเฉพาะในด้านความรู้เท่านั้นแต่ยังปลูกฝังทักษะและเจตคติอันดีงามแก่ผู้ศึกษาด้วยการนำเทคโนโลยีการสอนมาใช้กับการศึกษาทำให้ผู้เรียนได้เรียนรู้อย่างกว้างขวางขึ้น  ได้เห็นสภาพความเป็นจริงในสังคมด้วยตาของเขาเองเป็นการนำโลกภายนอกเข้าสู่ห้องเรียนทาให้ช่องว่างระหว่างโรงเรียนกับสังคมลดน้อยลง เช่น  การศึกษาผ่านทางโทรทัศน์  ภาพยนตร์  สไลด์  เป็นต้น
                                                6. เทคโนโลยีการสอน ทำให้เกิดความเสมอภาคทางการศึกษา  การนำเทคโนโลยีการสอนมาใช้กับการศึกษาทำให้โอกาสของทุกคนในการเข้ารับการศึกษามีมากขึ้น  เช่น  การจัดการศึกษาแบบปกติ (Formal  Education)  การจัดการศึกษานอกแบบ  (Informal Education)  การจัดการศึกษาพิเศษแก่คนพิการและอื่นๆทำให้วิถีทางการเข้าสู่การศึกษานั้นเป็นไปอย่างอิสรเสรีและกว้างขวาง  เพื่อความก้าวหน้าของแต่ละบุคคลตามความสนใจ ความต้องการและความสามารถของเขา
1.4 ประโยชน์ของเทคโนโลยีที่มีต่อการสอน  ประโยชน์ของเทคโนโลยีที่มีต่อการศึกษาสามารถแบ่งออกได้เป็นด้านๆดังนี้
              1.4.1 ประโยชน์สำหรับผู้เรียน  ผู้เรียนจะได้รับประโยชน์ดังนี้
                     1. ทำให้ผู้เรียนมีโอกาสใช้ความสามารถของตนเองในการเรียนรู้อย่างเต็มที่
                     2. ผู้เรียนมีโอกาสตัดสินใจในการเลือกเรียนตามช่องทางที่เหมาะกับความ สามารถของตนเอง
                     3. ทำให้กระบวนการเรียนรู้ง่ายขึ้น
                     4. ผู้เรียนมีอิสระในการเลือก
                     5. ผู้เรียนสามารถเรียนรู้ในทุกเวลา  ทุกสถานที่
                     6. ทำให้การเรียนมีประสิทธิภาพมากขึ้น
                     7. ลดเวลาในการเรียนรู้  ผู้เรียนสามารถเรียนรู้ได้มากกว่าเดิมในเวลาเท่ากัน
                     8. ทำให้ผู้เรียนสามารถเรียนรู้ได้ทั้งในแนวกว้างและแนวลึก
                     9. ช่วยให้ผู้เรียนรู้จักเสาะหาแหล่งการเรียนรู้
                     10. ฝึกให้ผู้เรียนคิดเป็นและสามารถแก้ปัญหาด้วยตนเองได้
              1.4.2 ประโยชน์สำหรับผู้สอน  ผู้สอนจะได้ประโยชน์ดังนี้
                     1. ทำให้ประสิทธิภาพของการสอนสูงขึ้น
                     2. ผู้สอนสามารถจัดกิจกรรมได้หลากหลาย
                     3. ทำให้ผู้สอนมีเวลามากขึ้น จึงใช้เวลาที่เหลือในการเตรียมการสอนได้เต็มที่
                     4. ทำให้กระบวนการสอนง่ายขึ้น
                     5. ลดเวลาในการสอนน้อยลง
                     6. สามารถเพิ่มเนื้อหาและจุดมุ่งหมายในการสอนมากขึ้น
                     7. ผู้สอนไม่ต้องใช้เวลาสอนทั้งหมดอยู่ในชั้นเรียนเพราะบทบาทส่วนหนึ่งผู้เรียนทาเอง
                     8. ผู้สอนสามารถแก้ปัญหาความไม่ถนัดของตนเองได้
                     9. ผู้สอนสามารถสอนผู้เรียนได้เนื้อหาที่กว้างและลึกซึ้งกว่าเดิม
                     10. ง่ายในการประเมินเพราะการใช้เทคโนโลยีมุ่งให้ผู้เรียนประเมินตนเองด้วย
              1.4.3 ประโยชน์ต่อการจัดการศึกษา ในแง่ของการจัดการศึกษาจะได้รับประโยชน์
                     1. สามารถเปิดโอกาสของการเรียนรู้ได้อย่างแท้จริง
                     2. ทำให้ลดช่องว่างทางการศึกษาให้น้อยลง
                     3. สามารถสร้างผู้เรียนที่มีประสิทธิภาพมากกว่าเดิม
                     4. ทำให้การจัดการและการบริหารเป็นระบบมากขึ้น
                     5. ทำให้ลดการใช้งบประมาณและสามารถใช้งบประมาณที่มีอยู่ให้คุ้มค่า
                     6. สามารถแก้ปัญหาทางการศึกษาได้หลายประการ

2. การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีในการแก้ปัญหาการศึกษาและการเรียนการสอน
       เทคโนโลยีสารสนเทศที่นำมาใช้สำหรับการสอนเป็นการใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่หลายอย่าง  ทำให้การเรียนการสอนด้วยอุปกรณ์ที่ทันสมัย  ห้องเรียนสมัยใหม่มีอุปกรณ์วิดีโอโปรเจคเตอร์  (Video Projector)  มีเครื่องคอมพิวเตอร์  มีระบบการอ่านข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์แบบต่างๆรูปแบบของสื่อการศึกษาที่นำมาใช้ในการเรียนการสอน  ก็มีหลากหลายขึ้นอยู่กับความเหมาะสมในการนำมาใช้ เช่น  มัลติมีเดีย  อิเล็กทรอนิกส์  วิดีโอเทเลคอนเฟอเรนซ์  ระบบวิดีโอออนดีมานด์  ไฮเปอร์เท็กซ์ คอมพิวเตอร์และระบบอินเตอร์เน็ต เป็นต้น
       2.1 คอมพิวเตอร์ช่วยสอน  เป็นการนำเอาเทคโนโลยีรวมกับการออกแบบโปรแกรมการสอนมาใช้ช่วยสอน  ซึ่งเรียกกันโดยทั่วไปว่าบทเรียน  ซีเอไอ  ย่อมาจากคำในภาษาอังกฤษว่า  Computer-Assisted  Instruction  หรือเรียกย่อๆว่าซีเอไอ  (CAI)  การจัดโปรแกรมการสอนโดยใช้คอมพิวเตอร์ช่วยสอนในปัจจุบันมักอยู่ในรูปของสื่อประสม  (Multimedia)  หมายถึง  นำเสนอได้ทั้งภาพ  ข้อความ  เสียง ภาพเคลื่อนไหว  ฯลฯ  โปรแกรมช่วยสอนนี้เหมาะกับการศึกษาด้วยตนเองและเปิดโอกาสให้ผู้เรียนสามารถโต้ตอบกับบทเรียนได้ตลอดจนมีผลป้อนกลับเพื่อให้ผู้เรียนรู้  บทเรียนได้อย่างถูกต้องและเข้าใจในเนื้อหาวิชาของบทเรียนนั้นๆ
     2.1.1 ลักษณะคอมพิวเตอร์ช่วยสอน  เป็นบทเรียนที่ช่วยการเรียนการสอนและมีโปรแกรมคอมพิวเตอร์ช่วยจัดบทเรียนให้เป็นระบบและเหมาะสมกับนักเรียนแต่ละคน  โดยมีลักษณะสำคัญๆ ดังนี้
                     1. เริ่มจากสิ่งที่รู้ไปสู่สิ่งที่ไม่รู้จัดเนื้อหาเรียงไปตามลำดับจากง่ายไปสู่ยาก
                     2. การเพิ่มเนื้อหาให้กับผู้เรียนต้องค่อยๆเพิ่มทีละน้อยและมีสาระใหม่ไม่มากนักนักเรียนสามารถเรียนรู้ได้ด้วยตนเองอย่างเข้าใจ
                     3. แต่ละเนื้อหาต้องมีการแนะนำความรู้ใหม่เพียงอย่างเดียวไม่ให้ที่ละมากๆจนทำให้ผู้เรียนสับสน
                     4. ในระหว่างเรียนต้องให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมกับบทเรียน  เช่น  มีคำถามมีการตอบ  มีทำแบบฝึกหัด  แบบทดสอบซึ่งทำให้ผู้เรียนสนใจอยู่กับการเรียนไม่น่าเบื่อหน่าย
                     5. การตอบคำถามที่ผิดต้องมีคำแนะนำหรือทบทวนบทเรียนเก่าอีกครั้งหรือมีการเฉลย  ซึ่งเป็นการเพิ่มเนื้อหาไปด้วย  ถ้าเป็นคำตอบที่ถูกผู้เรียนได้รับคำชมเชยและได้เรียนบทเรียนต่อไปที่ก้าวหน้าขึ้น
                     6. ในการเสนอบทเรียนต้องมีการสรุปท้ายบทเรียนแต่ละบทเรียนช่วยให้เกิดการวัดผลได้ด้วยตนเอง
                     7. ทุกบทเรียนต้องมีการกำหนดวัตถุประสงค์ไว้ให้ชัดเจน ซึ่งช่วยให้แบ่งเนื้อหาตามลำดับได้ดี
              2.1.2 ประโยชน์ของคอมพิวเตอร์ช่วยสอน  การนำเอาคอมพิวเตอร์มาช่วยในการสอนมีประโยชน์หลายประการดังนี้
                            1.ทำให้นักเรียนได้มีส่วนร่วมในกระบวนการเรียนการสอนมากขึ้น
            2. ทำให้นักเรียนสามารถเลือกเรียนได้หลายแบบตามความถนัดของแต่ละบุคคล
                            3. ทำให้ไม่เปลืองสมองในการท่องจำสิ่งที่ไม่ควรจะต้องจำใช้สมองในการคิดวิเคราะห์และตัดสินใจแทน
                            4. ทำให้สามารถปรับปรุงเปลี่ยนแปลงการเรียนการสอนได้เหมาะสมกับแต่ละบุคคล
                            5. ทำให้ผู้เรียนมีอิสรภาพในการเรียน ไม่ต้องคอยครู อาจารย์ ผู้เรียนสามารถเรียนรู้ได้ทุกเวลาที่ต้องการ
            6. ทำให้ผู้เรียนสามารถสรุปหลักการ เนื้อหา สาระของบทเรียนแต่ละบทเรียนได้
              2.1.3 ประเภทของคอมพิวเตอร์ช่วยสอน  คอมพิวเตอร์ช่วยสอนที่นำมาใช้ในปัจจุบันมีอยู่มากมายหลายรูปแบบ นักวิชาการและนักการศึกษา ทั้งในประเทศและต่างประเทศได้จัดแบ่งประเภทตามลักษณะการใช้ดังนี้
                            1.คอมพิวเตอร์ใช้เพื่อการสอน  (Tutoring)  เป็นโปรแกรมที่สร้างขึ้นในลักษณะของบทเรียนที่ลอกเลียนแบบการสอนของครู  กล่าวคือ  มีบทนำ  มีคำบรรยายซึ่งประกอบด้วยทฤษฎี กฎเกณฑ์  แนวคิดที่สอนหลังจากที่นักเรียนได้ศึกษาแล้วก็มีคำถาม  เพื่อใช้ในการตรวจสอบความเข้าใจของนักเรียนมีการป้อนกลับตลอดจนมีการเสริมแรงและสามารถให้นักเรียนย้อนกลับไปเรียนบทเรียนเดิมได้ หรือข้ามบทเรียนที่ได้เรียนรู้  แล้วได้นอกจากนี้ยังสามารถบันทึกการเรียนของนักเรียนไว้ได้ เพื่อให้ครูนำข้อมูลการเรียนของแต่ละคนกลับไปแก้ไขนักเรียนบางคนได้
                            2. คอมพิวเตอร์ใช้เพื่อการฝึก  (Drill  and  Practice)  แบบฝึกส่วนใหญ่ใช้เพื่อเสริมทักษะเมื่อครูได้สอนบทเรียนบางอย่างไปแล้ว  จุดมุ่งหมายเพื่อฝึกหัดกับคอมพิวเตอร์เพื่อวัดระดับหรือให้ฝึกจนถึงระดับที่ยอมรับได้  บทเรียนประเภทนี้จึงประกอบด้วยคำถามและคำตอบ  การเตรียมคำถามต้องเตรียมไว้มากๆ  ซึ่งผู้เรียนควรได้สุ่มขึ้นมาฝึกเองได้ สิ่งสำคัญของการฝึกคือต้องกระตุ้นให้นักเรียนอยากทำและตื่นเต้นกับการทำแบบฝึกหัดนั้น  ซึ่งอาจมีภาพเคลื่อนไหว  คำพูดโต้ตอบมีการแข่งขัน  เช่น  จับเวลาหรือสร้างรูปแบบที่ท้าทายความสามารถในการคิดและการแก้ปัญหา
                            3. คอมพิวเตอร์ใช้เพื่อสร้างสถานการณ์จำลอง  (Simulation)  โปรแกรมประเภทนี้เป็นโปรแกรมที่ใช้จำลองสถานการณ์ให้ใกล้เคียงกับสถานการณ์ในชีวิตจริงของนักเรียนโดยมีเหตุการณ์สมมติต่างๆอยู่ในโปรแกรมและผู้เรียนสามารถที่จะเปลี่ยนแปลง  หรือจัดกระทำได้สามารถมีการโต้ตอบและมีวัตแปรหรือทางเลือกหลายๆทาง  การสร้างสถานการณ์จำลองขึ้นเพื่อให้เกิดการเรียนรู้ เมื่อสถานการณ์จริงไม่สามารถทำได้  เช่น  การเคลื่อนที่ของลูกปืน  การเดินทางของแสงการหักเหของคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าหรือการทำปฏิกิริยาทางเคมีที่อาจเกิดการระเบิดขึ้นหรือการเจริญเติบโตนี้ใช้เวลานานหลายวันการใช้คอมพิวเตอร์  สร้างสถานการณ์จำลองจึงมีความจำเป็นอย่างมาก
                            4. คอมพิวเตอร์ใช้เพื่อเป็นเกมในการเรียนการสอน  โปรแกรมประเภทนี้นับเป็นแบบพิเศษของแบบจำลองสถานการณ์  โดยมีการแข่งขันเป็นหลักซึ่งสามารถเล่นได้คนเดียวหรือหลายคน ก่อให้เกิดการแข่งขันและร่วมมือกัน  ก่อให้เกิดการเรียนรู้ได้มากโดยการเพิ่มคุณค่าทางการศึกษาจุดมุ่งหมาย  เนื้อหาและกระบวนการที่เหมาะสม
                            5. คอมพิวเตอร์ใช้เพื่อการทดสอบ  เป็นโปรแกรมที่ใช้รวมแบบทดสอบไว้และสุ่มข้อสอบตามจำนวนที่ต้องการ  โดยที่ข้อสอบเหล่านั้นผ่านการสร้างมาอย่างดีมีความเชื่อถือได้ในการวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน  โปรแกรมมีการตรวจข้อสอบให้คะแนนวิเคราะห์และประเมินผลให้ผู้สอบได้ทราบทันที
                            6. คอมพิวเตอร์ใช้เพื่อการไต่ถามข้อมูล  (Inguiry)  เป็นโปรแกรมที่ช่วยในการค้นหาข้อเท็จจริงหรือข่าวสารที่เป็นประโยชน์ในตัวคอมพิวเตอร์แบบนี้จะมีแหล่งเก็บข้อมูลที่เป็นประโยชน์ ซึ่งสามารถแสดงได้ทันทีเมื่อผู้เรียนต้องการด้วยระบบง่ายๆ  ที่ผู้เรียนสามารถทำได้เพียงแต่กดหมายเลข หรือใส่รหัส  ซึ่งทำให้คอมพิวเตอร์แสดงข้อมูลที่ต้องการไต่ถามได้ตามต้องการนอกจากนั้นยังนำคอมพิวเตอร์ช่วยสอนมาใช้ในลักษณะอื่นๆ  เช่น การนำเสนอประกอบการสอน  การใช้เพื่อฝึกแก้ปัญหาการสาธิต เป็นต้น
       2.2 การเรียนการสอนโดยใช้เว็บเป็นหลัก  เป็นการจัดการเรียนที่มีสภาพการเรียนต่างไปจากรูปแบบเดิม  การเรียนการสอนแบบนี้อาศัยศักยภาพและความสามารถของเครือข่ายอินเตอร์เน็ต  ซึ่งเป็นการนำเอาสื่อการเรียนการสอนเป็นเทคโนโลยีสูงสุดมาช่วยสนับสนุนการเรียนการสอน  ให้เกิดการเรียนรู้จากการสืบค้นข้อมูลและเชื่อมโยงเครือข่ายทำให้ผู้เรียนสามารถเรียนได้ทุกสถานที่และทุกเวลา การจัดการเรียนการสอนลักษณะนี้มีชื่อเรียกหลายชื่อ  ได้แก่  การเรียนการสอนผ่านเว็บ  (Web-based Instruction)  การฝึกอบรมผ่านเว็บ  (Web-based  Trainning)  การเรียนการสอนผ่านเวิล์ดไวด์เว็บ (www-based Instruction)  การฝึกอบรมผ่านเวิล์ดไวด์เว็บ  (www-based Trainning)  เป็นต้น
              2.2.1 ความหมาย  การเรียนการสอนโดยใช้เว็บเป็นหลักเป็นการประยุกต์ใช้ยุทธวิธีการสอนด้านพุทธพิสัย  ภายใต้สภาพแวดล้อมทางการเรียนที่ผู้เรียนเป็นผู้สร้างองค์ความรู้และการเรียนแบบร่วมมือกัน  เนื่องจากการเรียนแบบนี้ผู้เรียนเป็นผู้ควบคุมการเรียนด้วยตนเองเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ  และเรียนด้วยการมีปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่น  การเรียนการสอนโดยใช้เว็บเป็นหลักเป็นการจำลองสถานการณ์การเรียนการสอนในห้องเรียนในรูปของสืบค้นองค์ความรู้จากเว็บ หรืออาจเรียกว่า อีเลิร์นนิ่ง  ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของอีเอ็ดยูเคชั่นและเป็นส่วนหนึ่งของอีคอมเมิร์ช
             2.2.2 องค์ประกอบของการเรียนการสอนโดยใช้เว็บเป็นหลัก
             1.ระบบการเรียนการสอน
            2. ความเป็นเงื่อนไข
            3. การสื่อสารและกิจกรรม
            4. สิ่งนำทางการค้นคว้า
              2.2.3 คุณค่าทางการศึกษา  ของการเรียนการสอนโดยใช้เว็บเป็นหลัก
                            1. ช่วยเปิดโลกกว้างทางการศึกษา  แหล่งวิทยาการความรู้ต่างๆ  ที่มีอยู่ทั่วโลกตลอดจนเรียนรู้ด้านวัฒนธรรมซึ่งกันและกันผ่านเครือข่ายการสื่อสารได้ทั่วโลก
            2. ค้นคว้าข้อมูลข่าวสารได้มากมายหลากหลายในลักษณะที่เป็นสื่อประเภทอื่นๆ  ผู้เรียนที่อยู่ในสถาบันการศึกษาอื่นๆหรือต่างโรงเรียนกันต่างจังหวัด  หรือต่างประเทศก็สามารถสืบค้นข้อมูลผ่านเครือข่ายได้
            3.ฝึกทักษะการคิดอย่างเป็นระบบ  โดยเฉพาะทักษะการคิดวิเคราะห์  สังเคราะห์  การแก้ปัญหาและการคิดอย่างอิสระ  ทั้งนี้เนื่องจากข้อมูลในเครือข่ายมีมากผู้เรียนจึงต้องคิดวิเคราะห์อยู่เสมอ  เพื่อแยกแยะสารสนเทศที่เป็นสาระสำหรับตน
            4.ขยายขอบข่ายการเรียนรู้ในห้องเรียนออกไป  เปิดโอกาสให้ผู้เรียนสามารถสำรวจข้อมูลตามความสนใจของผู้เรียน  นอกจากนั้นยังเปิดโอกาสให้ทำงานร่วมกันเป็นกลุ่มทำให้ผู้เรียนมีโอกาสมองปัญหาได้หลากหลายแง่มุมมากขึ้น
            5. ทำให้ผู้เรียนสามารถปรึกษาผู้เชี่ยวชาญหรือผู้ให้คำปรึกษาได้โดยอิสระ  ถือเป็นแรงจูงใจที่สำคัญอย่างหนึ่งในการเรียนรู้ของผู้เรียน
            6.ทำให้เรียนได้มีโอกาสศึกษาโปรแกรมประยุกต์ต่างๆบนคอมพิวเตอร์และบนเครือข่ายต่างๆไปพร้อมๆกับการเรียน
              2.2.4 ข้อดีของการเรียนการสอนโดยใช้เว็บเป็นหลัก
            1. ช่วยเพิ่มปฏิสัมพันธ์ระหว่างผู้เรียนกับผู้เรียน  ผู้เรียนกับผู้สอนและผู้เรียนกับแหล่งการเรียนผู้อื่นๆ
            2. ช่วยลดรายจ่ายในสภาพการเรียนการสอนจริงที่มีอาคารพร้อมสิ่งอำนวยความสะดวกอื่นๆ  ซึ่งเสียค่าใช้จ่ายมาก มีการเตรียมวัสดุอุปกรณ์และบางครั้งอาจเสี่ยงอันตราย  ดังนั้นการเรียนการสอนโดยใช้เว็บเป็นหลักจึงเป็นทางเลือกหนึ่งที่ช่วยลดภาระค่าใช้จ่ายได้
            3. ทำข้อมูลให้ทันสมัยและเป็นปัจจุบันได้ง่ายและรวดเร็วจึงทำให้เนื้อหาวิชาที่ผู้เรียนได้รับถูกต้องอยู่เสมอ
            4. ข้อมูลต่างๆที่ใช้ในการเรียนการสอนสามารถอ้างอิงผ่านระบบการสืบค้นได้ทันที
       2.3 มัลติมีเดีย  เทคโนโลยีได้พัฒนาก้าวหน้าจนสามารถรองรับการแทนข้อมูลข่าวสารขนาดใหญ่ได้มากขึ้น สามารถนำเสนอข่าวสารที่เข้าใจได้ง่ายขึ้น  การผสมรูปแบบหลายสื่อจึงทำได้ง่าย  เช่น การใช้ภาพที่เป็นสีแทนภาพขาว - ดำ เพื่อทำให้เข้าใจดีขึ้น  ภาพเคลื่อนไหวทำให้น่าตื่นเต้นเรียนรู้ได้ง่ายตลอดจนการมีเสียงเมื่อนำมารวมเข้าด้วยกันเป็นมัลติมีเดีย ซึ่งการผสมรูปแบบสื่อหลายอย่างทำให้การเรียนรู้สมบูรณ์ขึ้นเมื่อราวๆ  ต้นปี พ.ศ. 2524  มีระบบปฏิบัติการที่เรียกว่าวินโดวส์ 3.0  ซึ่งเป็นระบบปฏิบัติการที่ใช้สำหรับเครื่อง พี ซี และเป็นระบบปฏิบัติการที่เรียกว่า  กราฟิกยูชเซอร์อินเตอร์เฟส (GUI : Graphical User Interface) ซึ่งมีลักษณะอินเตอร์เฟสเหมือนเครื่องคอมพิวเตอร์แมคอินทอช  เป็นอินเตอร์เฟสที่แสดงได้ทั้งข้อความและกราฟิกและง่ายต่อการใช้ ประกอบกับที่โปรแกรมประยุกต์ต่างๆ  ที่สนับสนุนการใช้ให้กว้างขว้างขึ้น  ซึ่งต่อมาในปี  พ.ศ. 2535  วินโดวส์มีศักยภาพในเรื่องของภาพและเสียง  ในปีเดียวกันนี้จึงเกิดมาตรฐาน  เอมพีซี  (MPC: multimedia personal computer)  ซึ่งมาตรฐานนี้เป็นสิ่งกำหนดระบบพื้นฐานที่จำเป็นสำหรับระบบปฏิบัติการวินโดวส์ด้านมัลติมีเดีย
       การเริ่มต้นใช้วินโดวส์  3.1  เมื่อเดือนมีนาคม  พ.ศ. 2536 ทำให้สามารถขยายการใช้มัลติมีเดียได้กว้างขวางยิ่งขึ้น  กล่าวคือรายการเล่นไฟล์เสียง  ไฟล์มีดี  ไฟล์ภาพเคลื่อนไหวและภาพยนตร์  จากแผ่นซีดีรอมได้  จนกลายเป็นจุดเริ่มต้นของมัลติมีเดียบนเครื่องคอมพิวเตอร์พีซี
       ดังนั้นการใช้มัลติมีเดีย  คือ  การใช้คอมพิวเตอร์ร่วมกับโปรแกรมซอฟต์แวร์ในการสื่อความหมายโดยการผสมผสานสื่อหลายชนิด  เช่น  ข้อความ  สีสัน  ภาพกราฟิก  ภาพเครื่องไหว  และภาพวีดิทัศน์ และผู้ใช้สามารถควบคุมสื่อให้เสนอของมาตามต้องการได้  ระบบนี้จะเรียกว่า  มัลติมีเดียปฏิสัมพันธ์ การปฏิสัมพันธ์ของผู้ใช้สามารถกระทำได้โดยผ่านทางคีย์บอร์ด  เมาส์หรือตัวชี้เป็นต้น
              2.3.1 คุณค่าของมัลติมีเดีย  ได้นำมาใช้ในการฝึกอบรม  การทหารและอุตสาหกรรม  และยังเป็นเครื่องมือที่สำคัญทางการศึกษา  ทั้งนี้เพราะว่าเทคโนโลยีมัลติมีเดียสามารถทีจะนำเสนอได้ทั้งเสียง ข้อความ  ภาพเคลื่อนไหว  ดนตรี  กราฟิก  ภาพถ่าย  วัสดุตีพิมพ์และภาพยนตร์วีดิทัศน์  และสามารถที่จะจำลองภาพการเรียนการสอน  โดยผู้เรียนสามารถเรียนรู้ได้โดยตรง  จุดเด่นของการใช้มัลติมีเดียเพื่อการศึกษามีดังนี้
                            1. ส่งเสริมการเรียนด้วยตนเองแบบเชิงรุก กับแบบสื่อนำเสนอการสอนแบบเชิงรับ
                            2. สามารถเป็นแบบจำลองการนำเสนอที่เป็นแบบฝึก และสอนที่ไม่มีแบบฝึก
                            3. มีภาพประกอบและมีปฏิสัมพันธ์
                            4. เป็นสื่อที่สามารถพัฒนาเพื่อช่วยการตัดสินใจ และแก้ไขปัญหาอย่างมีศักยภาพ
                            5. ยอมให้ผู้ใช้ควบคุมได้ด้วยตนเอง และมีระบบหลายแนวทางในการเข้าถึงข้อมูล
                            6. สร้างแรงจูงใจและมีหลายรูปแบบการเรียน
                            7. จัดการด้านเวลาในการเรียนได้อย่างมีประสิทธิภาพและใช้เวลาในการเรียนน้อยกว่า
              2.3.2 การใช้มัลติมีเดียเพื่อการเรียนการสอน  เพื่อเพิ่มทางเลือกในการเรียนและสนองต่อรูปแบบของการเรียนของนักเรียนที่แตกต่างกัน  การจำลองสภาพการณ์ของวิชาต่างๆ  เป็นวิธีการเรียนรู้ที่นำให้นักเรียนได้รับประสบการณ์ตรงก่อนการลงมือปฏิบัติจริงโดยสามารถที่จะทบทวนขั้นตอนและกระบวนการได้เป็นอย่างดี  นักเรียนอาจเรียนหรือฝึกซ้ำได้และใช้มัลติมีเดียในการฝึกภาษาต่างประเทศ โดยเน้นเรื่องของการออกเสียงและฝึกพูด
          มัลติมีเดียสามารถเชื่อมทฤษฎีและการปฏิบัติเข้าด้วยกันคือ  ให้โอกาสผู้ใช้บทเรียนได้ทดลองฝึกปฏิบัติในสิ่งที่ได้เรียนในห้องเรียน  และช่วยเปลี่ยนผู้ใช้บทเรียนจากสภาพการเรียนรู้ในเชิงรับ  มาเป็นเชิงรุก  ในด้านของผู้สอนใช้มัลติมีเดียในการนำเสนอการสอนในชั้นเรียนแทนการสอนโดยใช้เครื่องฉายภาพข้ามศีรษะ  ทั้งนี้เนื่องจากมัลติมีเดียจะสามารถนำเสนอความรู้ได้หลายสื่อและเสมือนจริงได้มากกว่าการใช้สื่อประเภทแผ่นใสเพียงอย่างเดียว
                มัลติมีเดียจึงเป็นสื่อทางการเรียนการสอนและการศึกษาที่มีขอบเขตกว้างขวาง  เพิ่มทางเลือกในการเรียนและการสอน  สามารถสนองต่อรูปแบบของการเรียนของนักเรียนที่แตกต่างกันได้  สามารถจำลองสภาพการณ์ของวิชาต่างๆ  เพื่อการเรียนรู้ได้นักเรียนได้รับประสบการณ์ตรงก่อนลงมือปฏิบัติจริง  สามารถที่จะทบทวนขั้นตอนและกระบวนการได้เป็นอย่างดี  จึงกล่าวได้ว่ามัลติมีเดียมีความเหมาะสมที่นำมาใช้ทางการสอนและการศึกษา
       2.4 อิเล็กทรอนิกส์บุ๊ค  พัฒนาการอีกด้านหนึ่งคือการเก็บข้อมูลจำนวนมากด้วยซีดีรอม  ซีดีรอมหนึ่งแผ่นสามารถเก็บข้อมูลตัวอักษรได้มากถึง  600  ล้านตัวอักษร  ดังนั้นซีดีรอมหนึ่งแผ่นสามารถเก็บข้อมูลหนังสือหรือเอกสารได้มากกว่าหนังสือหนึ่งเล่มและที่สำคัญคือการใช้กับคอมพิวเตอร์ทำให้สามารถเรียกค้นหาข้อมูลภายในซีดีรอมได้อย่างรวดเร็วโดยใช้ดัชนี  สืบค้นหรือสารบัญเรื่อง  ซีดีรอมจึงเป็นสื่อที่มีบทบาทต่อการศึกษาอย่างยิ่ง  เพราะในอนาคตหนังสือต่างๆ  จะจัดเก็บอยู่ในรูปซีดีรอม และเรียกอ่านด้วยเครื่องคอมพิวเตอร์ที่เรียกว่าอิเล็กทรอนิกส์ยุค  ซีดีรอมมีข้อดีคือสามารถจัดเก็บข้อมูลในรูปของมัลติมีเดียและเมื่อนำซีดีรอมหลายแผ่นใส่ไว้ในเครื่องอ่านชุดเดียวกัน  ทำให้ซีดีรอมสามารถขยายการเก็บข้อมูลจำนวนมากยิ่งขึ้นได้
    ปัจจุบันแนวโน้มด้านราคาของซีดีรอมมีแนวโน้มถูกลงเรื่องๆ  จนแน่ใจว่าสื่อซีดีรอมจะเป็นสื่อที่นำมาใช้แทนหนังสือที่ใช้กระดาษในอนาคต  ทั้งนี้เชื่อว่าสื่อที่ใช้กระดาษจะมีแนวโน้มราคาสูงขึ้น
       ในการประยุกต์อิเล็กทรอนิกส์บุคมาให้ทางการศึกษา  มักใช้เพื่อเป็นสื่อแทนหนังสือหรือตำรา หรือใช้เพื่อเป็นสื่อเสริมการเรียนด้วยตนเอง  ผู้เรียนนำแผ่นซีดีที่บรรจุข้อมูลหนังสือทั้งเล่มมาอ่านด้วยคอมพิวเตอร์และเมื่อต้องการข้อมูลส่วนใดก็สามารถคัดลอกและอ้างอิงนำมาใช้ได้ทันทีโดยไม่ต้องจัดพิมพ์ใหม่  โปรแกรมประยุกต์ในปัจจุบันที่ใช้อ่านข้อมูลที่จัดเก็บในแผ่นซีดีรอม  ได้แก่  Acrobat Reader,  Nescape  Navigator,  Internet  Explorer  เป็นต้น
       2.5 ระบบการเรียนการสอนทางไกล  การเรียนการสอนทางไกลเป็นช่องทางหนึ่งที่ใช้เพื่อกระจายการศึกษา  ระบบการกระจายการศึกษาที่ได้ผลในปัจจุบันและเข้าถึงมวลชนจำนวนมาก  ย่อมต้องใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเข้าช่วย  ในปัจจุบันมีแนวโน้มที่จะมีสถานีโทรทัศน์เพิ่มขึ้นอาจจะมากกว่า  100 ช่องในอนาคตและมีระบบโทรทัศน์ที่กระจายสัญญาณโดยตรงผ่านความถี่วีเฮซเอฟ  (VHF)  และยูเฮชเอฟระบบวีเอชเอฟได้แก่สถานีโทรทัศน์ช่อง  3  ช่อง  5  ช่อง  7  ช่อง  9  และช่อง  11  ส่วนระบบยูเฮชเอฟ  ได้แก่  ไอทีวี  (ITV)  และยังมีระบบดีทีเฮช  (DTH : Direct to Home)  คือระบบที่กระจายสัญญาณโทรทัศน์จากดาวเทียมลงตรงยังบ้านที่อยู่อาศัย  ทำให้ครอบคลุมพื้นที่การรับได้กว้างขวางเพราะไม่ติดขัดสภาพทางภูมิประเทศที่มีภูเขาขวางกั้น  ดังนั้นการใช้ระบบโทรทัศน์ผ่านดาวเทียมจึงเป็นวิธีการหนึ่งที่ใช้ในการจัดการเรียนการสอนทางไกลเพื่อกระจายโอกาสทางการศึกษา
       การเรียนการสอนทางไกลโดยใช้ระบบโทรทัศน์ที่มีอยู่ในปัจจุบันมีข้อจำกัดคือ  เป็นการสื่อสารทางเดียว  (One-way)  ทำให้ผู้เรียนได้รับข่าวสารข้อมูลเสียงด้านเดียวไม่สามารถซักถามปัญหาต่างๆ  ได้จึงมีระบบกระจายสัญญาณในรูปของสาย  โดยใช้เส้นใยแก้วนำแสง  ในการสื่อสารเหมือนสายโทรศัพท์  แต่มีความเร็วในการสื่อสารข้อมูลได้มากกว่าสายโทรศัพท์ธรรมดาและส่งกระจายสัญญาณไปตามบ้านเรือนต่างๆ  ก่อให้เกิดระบบวิดีโอเทเลคอนเฟอเรนซ์ขึ้น  ระบบดังกล่าวนี้เป็นระบบโต้ตอบสองทาง  (Two-way)  ทางฝ่ายผู้เรียนสามารถเห็นผู้สอนและผู้สอนก็เห็นผู้เรียนถึงแม้จะอยู่ห่างไกลกัน  ทั้งสองฝ่ายสามารถเจรจาตอบโต้กันเห็นภาพกันเสมือนนั่งอยู่ในห้องเดียวกัน  ระบบวิดีโอเทเลคอนเฟอเรนซ์จึงเป็นระบบหนึ่งที่มีประโยชน์ต่อการศึกษาทางไกลเป็นอย่างมาก
    เมื่อระบบการศึกษาเน้นระบบการกระจายการศึกษา  การเรียนการสอนในห้องเรียนปกติและมีครูเป็นผู้สอนจำกัดเวลาเรียนตายตัว  และต้องเรียนในสถานที่ที่จัดไว้ให้ก็อาจเปลี่ยนแปลงไปเป็นการจัดการศึกษาโดยใช้เทคโนโลยีเข้าไปมีส่วนช่วยในการเรียนรู้  และเชื่อมโยงการสอนของครูที่เก่าหรือเชี่ยวชาญไปสู่ผู้เรียนในสถานที่ต่างๆ  ได้ทั่วถึงและรวดเร็ว  ระบบการเรียนการสอนทางไกลจึงเกิดขึ้น ซึ่งสนองความต้องการของสังคม  ปัจจุบันซึ่งเป็นสังคมข่าวสารการสอนทางไกลเป็นการเปิดโอกาสและกระจายโอกาสทางการศึกษาไปสู่บุคคลกลุ่มต่างๆ  อย่างทั่วถึงทำให้เกิดการศึกษาตลอดชีวิต
              2.5.1 ความหมาย  การเรียนการสอนทางไกล เป็นการเรียนการสอนที่ผู้เรียนและผู้สอนอยู่ไกลกัน  ใช้วิธีการถ่ายทอดเนื้อหาสาระและประสบการณ์โดยอาศัยสื่อประสมในหลายรูปแบบ  ได้แก่  สื่อที่เป็นหนังสือสื่อทางไปรษณีย์  ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์  วิทยุกระจายเสียง  โทรทัศน์  การประชุมทางไกลด้วยภาพและเสียง  (Video  Conference)  อินเตอร์เน็ต เป็นต้น  ช่วยให้ผู้เรียนที่อยู่ต่างถิ่นต่างที่กันสามารถศึกษาความรู้ได้
              2.5.2 กระบวนการเรียนการสอน  มีขั้นตอนสำคัญๆ  3  ขั้นตอน  คือ
              1. การเรียน – การสอน  การเรียนทางไกลอาศัยครูและอุปกรณ์การสอนสามารถใช้สอนนักเรียนได้มากกว่า  1  ห้องเรียนและได้หลายสถานที่ซึ่งจะเหมาะกับวิชาที่นักเรียนหลายๆ  แห่งต้องเรียนเหมือนๆกัน  เช่น  วิชาพื้นฐานซึ่งจะทำให้ไม่ต้องจ้างครูและซื้ออุปกรณ์สำหรับการสอนในวิชาเดียวกันของแต่ละแห่ง  การสอนนักเรียนจำนวนมากๆ  ในหลายสถานที่ครูสามารถเลือกให้นักเรียนถามคำถามได้  เนื่องจากมีอุปกรณ์ช่วยในการโต้ตอบ  เช่น  ไมโครโฟน  กล้องวิดีทัศน์และจอภาพเป็นต้น
                   2. การถาม – ตอบ  ขั้นตอนที่สำคัญอย่างหนึ่ง  คือการใช้คำถามเพื่อให้เกิดการโต้ตอบหรือมีปฏิสัมพันธ์สื่อที่ใช้อาจเป็นโทรศัพท์หรือกล้องวิดีทัศน์ในระบบการสอนทางไกลแบบวีดิโอคอนเฟอเรนซ์หรือโทรสาร  หรือไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์  ซึ่งเป็นการถามตอบภายหลัง
                   3. การประเมินผล  รูปแบบการประเมินผลการเรียนการสอนทางไกลนั้นผู้เรียนสามารถส่งการบ้านและทำแบบทดสอบโดยใช้ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์  หรืออาจเป็นรูปแบบการประเมินผลในห้องเรียนปกติ (ในห้องสอบที่จัดไว้) เพื่อผสมผสานกันไปกับการเรียนทางไกล
                  ดังนั้นการนำเอาเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้ในการสอนทางไกลจะประสบผลมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับว่าผู้นำมาใช้เข้าใจแนวคิดหลักการตลอดจนมีการวางแผนและเตรียมการไว้เป็นอย่างดี  โดยคำนึงถึงการสร้างปฎิสัมพันธ์ระหว่างครูกับนักเรียนให้มากจะทำให้การเรียนการสอนน่าสนใจยิ่งขึ้น การใช้สื่อและอุปกรณ์การสื่อสารอย่างหลากหลายทำให้เกิดสภาวะยึดหยุ่นของการจัด  ซึ่งหมาะสมกับสภาวะการณ์ในปัจจุบันโดยทั้งหมดทำให้บรรลุเป้าหมายที่สำคัญคือความสามารถในการกระจายโอกาสทางการศึกษาและยกระดับคุณภาพของการศึกษา  จึงกลายเป็นทางลัดที่เอื้อต่อการเรียนหลายประเภทและไปสู่การพัฒนาคุณภาพการศึกษา
       2.6 วิดีโอเทเลคอนเฟอเรนซ์  หมายถึง  การประชุมทางจอภาพโดยใช้เทคโนโลยีการสื่อสารที่ทันสมัยเป็นการประชุมร่วมกันระหว่างบุคคลหรือคณะบุคคลที่อยู่ต่างสถานที่และห่างไกลคนละซีกโลก  ด้วยสื่อทางด้านมัลติมีเดียที่ให้ทั้งภาพเคลื่อนไหว  ภาพนิ่ง  เสียงและข้อมูลตัวอักษรในการประชุมเวลาเดียวกัน  และเป็นการสื่อสาร  2  ทาง  จึงทำให้ดูเหมือนว่าได้เข้าร่วมประชุมร่วมกันตามปกติ
    ด้านการศึกษาวิดีโอเทเลคอนเฟอเรนซ์  ทำให้ผู้เรียนและผู้สอนสามารถติดต่อสื่อสารกันได้ผ่านทางจอภาพ  โทรทัศน์และเสียง  นักเรียนในห้องเรียนที่อยู่ห่างไกลสามารถเห็นภาพและเสียงของครู สามารถเห็นอากับกิริยาของผู้สอน  เห็นการเคลื่อนไหวและสีหน้าของครูในขณะเรียน
       คุณภาพของภาพและเสียงขึ้นอยู่กับความเร็วของช่องทางการสื่อสารที่ใช้เชื่อมต่อระหว่างสองฝั่งที่มีการประชุมกัน  ได้แก่  จอโทรทัศน์หรือจอคอมพิวเตอร์  ลำโพง  ไมโครโฟน  กล้อง  อุปกรณ์เข้ารหัสและถอดรหัสผ่านเครือข่ายการสื่อสารความเร็วสูงแบบไอเอสดีเอ็น (ISDN)
       2.7 ระบบวิดีโอออนดีมานด์  เป็นระบบใหม่ที่กำลังได้รับความนิยมนำมาใช้ในหลายประเทศเช่น  ญี่ปุ่นและสหรัฐอเมริกาโดยอาศัยเครือข่ายคอมพิวเตอร์ความเร็วสูงทำให้ผู้ชมตามบ้านเรือนต่างๆ สามารถเลือกรายการวีดิทัศน์ที่ตนเองต้องการชมได้โดยเลือกตามรายการและเลือกชมได้ตลอดเวลา
       วิดีโอออนดีมานด์เป็นระบบที่มีศูนย์กลางการเก็บข้อมูลวีดิทัศน์ไว้จำนวนมาก  โดยจัดเก็บในรูปแหล่งข้อมูลขนาดใหญ่  เมื่อผู้ใช้ต้องการเลือกชมรายการใดก็เลือกได้จากฐานข้อมูลที่ต้องการ  ระบบวิดีโอออนดีมานด์จึงเป็นระบบที่จะนำมาใช้ในเรื่องการเรียนการสอนทางไกลได้โดยไม่มีข้อจำกัดด้านเวลา  ผู้เรียนสามารถเลือกเรียนในสิ่งที่ตนเองต้องการเรียนหรือสนใจได้
2.8   ไฮเปอร์เท็กซ์  ปัจจุบันได้มีการกล่าวถึงระบบไฮเปอร์เท็กซ์กันมากแม้แต่ในเครือข่ายอินเตอร์เน็ตก็มีการประยุกต์ใช้ไฮเปอร์เท็กซ์จนมีโปรโตคอลพิเศษที่ใช้กัน  คือ  World  Wide  Web หรือเรียกว่า  www.  โดยผู้ใช้สามารถเรียกใช้โปรโตคอล  http  เพื่อเชื่อมโยงเข้าสู่ระบบไฮเปอร์เท็กซ์ ซึ่งเป็นฐานข้อมูลในอินเตอร์เน็ต  ในปัจจุบันเป็นแบบมัลติมีเดียเพราะสามารถสร้างเป็นฐานข้อมูลขนาดใหญ่ที่เก็บได้ทั้งภาพ  เสียงและตัวอักษร  มีระบบการเรียกค้นที่มีประสิทธิภาพโดยใช้โครงสร้างดัชนีแบบลำดับชั้นภูมิ  โดยทั่วไปไฮเปอร์เท็กซ์จะเป็นฐานข้อมูลที่มีดัชนีสืบค้นแบบเดินหน้า  ถอยหลัง และบันทึกร่องรอยของการสืบค้นไว้  โปรแกรมที่ใช้ในการสร้างไฮเปอร์เท็กซ์มีเป็นจำนวนมากส่วนโปรแกรมที่มีชื่อเสียง  ได้แก่  HTML,  Compossor,  FrontPage,  Marcromedia  Drea  Weaver  เป็นต้น
             2.8.1  ประโยชน์ของไฮเปอร์เท็กซ์ที่ใช้ทางการศึกษา  ได้แก่
                     1.รูปแบบการนำเสนอและการสืบค้นน่าสนใจ ชวนติดตาม
                     2.การนำเสนอ สามารถนำเสนอได้ทั้งวีดิทัศน์ กราฟิก ภาพเคลื่อนไหว และเสียง เป็นต้น
                     3.สามารถเชื่อมโยงไปยังเอกสารอื่นๆ ภายนอกได้
                     4.ผู้ใช้สามารถสืบท่องไปยังเนื้อหาที่สนใจและต้องการได้ด้วยตนเอง
                     5.มีความเป็นปัจจุบันอยู่เสมอ กล่าวคือสามารถเปลี่ยนแปลงและปรับปรุงเนื้อหาได้ง่าย  
                     6.ผู้ใช้สามารถเข้าถึงข้อมูลรายละเอียดได้อย่างรวดเร็ว
                     7.สามารถใช้ร่วมกับโปรแกรมประยุกต์อื่นๆ  เพื่อการนำเสนอได้ง่าย  ทำให้เกิดกิจกรรมการใช้งานหลากหลายขึ้น
                     8.สามารถประยุกต์ใช้กับบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน หรือบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยฝึกอบรมได้
                     9.เกิดความคงทนในการเรียนรู้มากกว่าการใช้เอกสารที่อยู่ในรูปสิ่งพิมพ์
                     10.ส่งเสริมการเรียนรู้รายบุคคลได้เป็นอย่างดี
       2.9 การสืบค้นข้อมูล  (Search  Engine)  ปัจจุบันได้มีการกล่าวถึงระบบการสืบค้นข้อมูลกันมาก  แม้แต่ในเครือข่ายอินเทอร์เน็ต  ก็มีการประยุกต์ใช้ไฮเปอร์เท็กซ์ในการสืบค้นข้อมูลจนมีโปรโตคอลชนิดพิเศษที่ใช้กัน  คือ  World  Wide  Web  หรือเรียกว่า  www.  โดยผู้ใช้สามารถเรียกใช้โปรโตคอล  http  เพื่อเชื่อมโยงเข้าสู่ระบบไฮเปอร์เท็กซ์ ซึ่งเป็นฐานข้อมูลในอินเทอร์เน็ต  ไฮเปอร์เท็กซ์มีลักษณะเป็นแบบมัลติมีเดีย  เพราะสามารถสร้างเป็นฐานข้อมูลขนาดใหญ่  ที่เก็บได้ทั้งภาพ  เสียงและตัวอักษร  มีระบบการเรียกค้นที่มีประสิทธิภาพ  โดยใช้โครงสร้างดัชนีแบบลำดับชั้นภูมิ โดยทั่วไป  ไฮเปอร์เท็กซ์จะเป็นฐานข้อมูลที่มีดัชนีสืบค้นแบบเดินหน้าถอยหลัง  และบันทึกร่องรอยของการสืบค้นไว้  โปรแกรมที่ใช้ในการสร้างไฮเปอร์เท็กซ์มีเป็นจำนวนมาก  ส่วนโปรแกรมที่มีชื่อเสียง  ได้แก่  HTML  Compossor  FrontPage  Marcromedia  Drea  Weaver  เป็นต้น  ปัจจุบันเราใช้วิธีการสืบค้นข้อมูล  เพื่อนำข้อมูลที่ได้ไปใช้ประกอบในการทำเอกสารรายงานต่างๆ  ได้อย่างสะดวกและรวดเร็ว 
   2.10 อินเตอร์เน็ต  เป็นเครือข่ายคอมพิวเตอร์ที่มีรากฐานความเป็นมาโดยการสนับสนุนของกระทรวงกลาโหมของสหรัฐอเมริกาที่มีความประสงค์เครือข่ายคอมพิวเตอร์ที่มีประสิทธิภาพ  จึงสนับสนันทุนวิจัยให้มหาวิทยาลัยชั้นนำในสหรัฐอเมริกาทำการวิจัยเชื่อมโยงเครือข่ายขึ้น  และให้ชื่อว่า APRANET  ต่อมาเครือข่ายนี้ได้ขยายตัวอย่างรวดเร็วมีคนนิยมใช้กันมากยิ่งขึ้นจึงใช้ชื่อเครือข่ายใหม่ว่าอินเตอร์เน็ต  เครือข่ายอินเตอร์เน็ตเชื่อมโยงกันระหว่างมหาวิทยาลัยกับมหาวิทยาลัยและขยายตัวรวดเร็วออกไปสู่หน่วยงานต่างๆ  ทั้งภาครัฐบาลและเอกชนในหลายประเทศ  ประเทศไทยได้เชื่อมโยงเครือข่ายนี้โดยมีมหาวิทยาลัยกว่า  24  แห่ง  ต่อผ่านช่องทางสื่อสารเข้าสู่อินเตอร์เน็ต
    อินเตอร์เน็ตมีประโยชน์ต่อการศึกษามากทำให้มหาวิทยาลัยต่างๆ  ตื่นตัวต่อการใช้  ทั้งนี้เพราะว่าในระบบเครือข่ายมีข้อมูลข่าวสารที่ต้องการมากมาย  จึงมีอัตราการขยายตัวของผู้ใช้สูงและครอบคลุมทุกแห่งทั่วโลก  จึงทำให้อินเตอร์เน็ตมีบทบาทต่อการศึกษาดังนี้
                     1. การใช้เป็นระบบสื่อสารส่วนบุคคล บนอินเตอร์เน็ตมีอิเล็กทรอนิกส์เมล์หรือเรียกย่อๆ  ว่า  อีเมล์  (E-mail)  เป็นระบบที่ทำให้การสื่อสารระหว่างกันเกิดขึ้นได้ง่าย  แต่ละบุคคลจะมีตู้จดหมายเป็นของตัวเองสามารถส่งข้อความถึงกันผ่านในระบบนี้  โดยส่งไปยังตู้จดหมายของกันและกันนอกจากนี้ยังสามารถประยุกต์ไปใช้ทางการศึกษาได้  เช่นการแจ้งผลสอบผ่านทางอีเมล์  การส่งการบ้าน  การโต้ตอบบทเรียนต่างๆ  ระหว่างอาจารย์กับนักศึกษา
                 2. ระบบข่าวสารบนอินเตอร์เน็ตมีลักษณะเหมือนกระดานข่าวที่เชื่อมโยงถึงกันทั่วโลก  ทุกคนสามารถเปิดกระดานข่าวที่ตนเองสนใจหรือสามารถส่งข่าวสารผ่านกลุ่มข่าวบนกระดานนี้เพื่อโต้ตอบข่าวสารกันได้  เช่น  กลุ่มสนใจงานเกษตรก็สามารถมีกระดานข่าวของตนเองไว้สำหรับอภิปรายปัญหากันได้
                     3. การใช้เพื่อสืบค้นข้อมูลข่าวสารต่างๆ  บนอินเตอร์เน็ตมีแหล่งข้อมูลขนาดใหญ่ที่เชื่อมโยงกัน  และติดต่อกับห้องสมุดทั่วโลกทำให้การค้นหาข้อมูลข่าวสารต่างๆ  ทำได้อย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพหมายถึงสามารถค้นหาและได้มาซึ่งข้อมูลโดยใช้เวลาอันสั้น  โดยเฉพาะบนอินเตอร์เน็ตจะมีคำหลัก  (Index)  ไว้ให้สำหรับการสืบค้นที่รวดเร็ว
     4. ฐานข้อมูลเครือข่ายใยแมงมุม  (World  Wide  Wed)  เป็นฐานข้อมูลแบบเอกสาร และแบบมีรูปภาพ  จนมาปัจจุบันฐานข้อมูลเหล่านี้ได้พัฒนาขึ้นจนเป็นแบบมัลติมีเดีย ซึ่งมีทั้งข้อความ รูปภาพ  วีดิทัศน์และเสียง  ผู้ใช้เครือข่ายนี้สามารถสืบค้นกันได้จากที่ต่างๆ  ทั่วโลก
     5. การพูดคุยแบบโต้ตอบหรือคุยเป็นกลุ่มบนเครือข่ายอินเตอร์เน็ตสามารถเชื่อมต่อกันและพูดคุยกันได้ด้วยเวลาจริง  ผู้พูดสามารถพิมพ์ข้อความโต้ตอบกันได้ไม่ว่าจะอยู่ที่ใดบนเครือข่าย  เช่น ฝ่ายหนึ่งอาจอยู่ต่างประเทศอีกฝ่ายหนึ่งอยู่ในที่ห่างไกลก็พูดคุยกันได้และยังสามารถพูดคุยกันเป็นกลุ่มได้
     6. การส่งถ่ายข้อมูลระหว่างกันแบบ  FTP  (Files Transfer Protocol)  คือสามารถที่จะโอนย้ายถ่ายเทข้อมูลระหว่างกันเป็นจำนวนมากๆได้  โดยส่งผ่านระบบเครือข่ายอินเตอร์เน็ต  ซึ่งทำให้สะดวกต่อการรับ-ส่งข้อมูลข่าวสาร  ซึ่งกันและกันโดยไม่ต้องเดินทางและข่าวสารถึงผู้รับได้อย่างรวดเร็วยิ่งขึ้น
     7. การใช้ทรัพยากรที่ห่างไกลกัน  ผู้เรียนอาจเรียนอยู่ที่บ้านและเรียกใช้ข้อมูลที่เป็นทรัพยากรการเรียนรู้ของมหาวิทยาลัยได้  และยังสามารถขอใช้ทรัพยากรคอมพิวเตอร์ในต่างมาวิทยาลัยได้  เช่น  มหาวิทยาลัยหนึ่งมีเครื่องคอมพิวเตอร์แบบซูเปอร์คอมพิวเตอร์และผู้อยู่อีกมหาวิทยาลัยหนึ่งก็ขอใช้ได้  ทำให้มีการใช้ทรัพยากรที่เป็นซอฟต์แวร์และฮาร์ดแวร์ได้อย่างมีประโยชน์และคุ้มค่าอย่างยิ่ง
     ดังนั้นจึงเห็นได้ว่าประโยชน์ของเครือข่ายอินเตอร์เน็ตต่อการศึกษายังมีอีกมาก  มหาวิทยาลัยเกือบทุกแห่งจึงเร่งที่จะมีโครงการสร้างเครือข่ายความเร็วสูงขึ้นในมหาวิทยาลัย  เพื่อให้ทรัพยากรภายในและผู้ใช้เชื่อมโยงถึงกันได้  นอกจากนั้นยังสามารถต่อเชื่อมเข้าสู่ระบบอินเตอร์เน็ตได้
3. เป้าหมายของเทคโนโลยีการศึกษา       
       3.1 การขยายพิสัยของทรัพยากรของการเรียนรู้  กล่าวคือ  แหล่งทรัพยากรการเรียนรู้  มิได้หมายถึงแต่เพียงตำราครูและอุปกรณ์การสอนที่โรงเรียนมีอยู่เท่านั้น  แนวคิดทางเทคโนโลยีทางการศึกษา ต้องการให้ผู้เรียนมีโอกาสเรียนจากแหล่งความรู้ที่กว้างขวางออกไปอีก  แหล่งทรัพยากรการเรียนรู้ครอบคลุมถึงเรื่องต่างๆ  เช่น
              3.1.1 คนเป็นแหล่งทรัพยากรการเรียนรู้ที่สำคัญ ซึ่งได้แก่  ครูและวิทยากรอื่น  ซึ่งอยู่นอกโรงเรียน  เช่น  เกษตรกร  ตำรวจ  บุรุษไปรษณีย์  เป็นต้น
              3.1.2 วัสดุและเครื่องมือ  ได้แก่  โสตทัศน์  วัสดุอุปกรณ์ต่างๆ  เช่น  ภาพยนตร์  วิทยุ  โทรทัศน์  เครื่องวิดีโอเทป  ของจริงของจำลองสิ่งพิมพ์  รวมไปถึงการใช้สื่อมวลชนต่างๆ
              3.1.3 เทคนิค-วิธีการ  แต่เดิมนั้นการเรียนการสอนส่วนมาก  ใช้วิธีให้ครูเป็นคนบอกเนื้อหาแก่ผู้เรียนปัจจุบันนั้น  เปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้ศึกษาค้นคว้าด้วยตนเองได้มากที่สุด  ครูเป็นเพียง  ผู้วางแผนแนะแนวทางเท่านั้น  สถานที่อันได้แก่  โรงเรียน  ห้องปฏิบัติการทดลอง  โรงฝึกงาน  ไร่นา  ฟาร์ม  ที่ทำการรัฐบาล  ภูเขา  แม่น้ำ  ทะเลหรือสถานที่ใดๆ  ที่ช่วยเพิ่มประสบการณ์ที่ดีแก่ผู้เรียนได้
       3.2 การเน้นการเรียนรู้แบบเอกัตบุคคล  ถึงแม้นักเรียนจะล้นชั้นและกระจัดกระจายยากแก่การจัดการศึกษาตามความแตกต่างระหว่างบุคคลได้  นักการศึกษาและนักจิตวิทยาได้พยายามคิด  หาวิธีนำเอาระบบการเรียนแบบตัวต่อตัวมาใช้  แต่แทนที่จะใช้ครูสอนนักเรียนทีละคน  เขาก็คิด  แบบเรียนโปรแกรม  ซึ่งทำหน้าที่สอนเหมือนกับครูมาสอน  นักเรียนจะเรียนด้วยตนเองจากแบบเรียนด้วยตนเองในรูปแบบเรียนเป็นเล่ม  หรือเครื่องสอนหรือสื่อประสมหลายๆอย่าง  จะเรียนช้าหรือเร็วก็ทำได้ตามความสามารถของผู้เรียนแต่ละคน
       3. 3 การใช้วิธีวิเคราะห์ระบบในการศึกษา  การใช้วิธีระบบในการปฏิบัติหรือแก้ปัญหา  เป็นวิธีการที่เป็นวิทยาศาสตร์ ที่เชื่อถือได้ว่าจะสามารถแก้ปัญหา  หรือช่วยให้งานบรรลุเป้าหมายได้ เนื่องจากกระบวนการของวิธีระบบ  เป็นการวิเคราะห์องค์ประกอบของงานหรือของระบบอย่างมีเหตุผลหาทางให้ส่วนต่างๆ  ของระบบทำงานประสานสัมพันธ์กันอย่างมีประสิทธิภาพ
       3.4 พัฒนาเครื่องมือ-วัสดุอุปกรณ์ทางการศึกษา วัสดุและเครื่องมือต่าง ๆ ที่ใช้ในการศึกษา หรือการเรียนการสอนปัจจุบันจะต้องมีการพัฒนา ให้มีศักยภาพ หรือขีดความสามารถในการทำงานให้สูงยิ่งขึ้นไปอีก
 4. แนวคิดพื้นฐานของนวัตกรรมทางการศึกษา
       ปัจจัยสำคัญที่มีอิทธิพลอย่างมากต่อวิธีการศึกษา  ได้แก่  แนวความคิดพื้นฐานทางการศึกษาที่เปลี่ยนแปลงไป  อันมีผลทำให้เกิดนวัตกรรมการศึกษาที่สำคัญๆ  พอจะสรุปได้  4   ประการ  คือ
           4.1 ความแตกต่างระหว่างบุคคล (Individual Different) การจัดการศึกษาของไทยได้ให้ความสำคัญในเรื่องความแตกต่างระหว่างบุคคลเอาไว้อย่างชัดเจนซึ่งจะเห็นได้จากแผนการศึกษาของชาติ  ให้มุ่งจัดการศึกษาตามความถนัดความสนใจ และความสามารถของแต่ละคนเป็นเกณฑ์ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดเจน  ได้แก่  การจัดระบบห้องเรียนโดยใช้อายุเป็นเกณฑ์บ้าง  ใช้ความสามารถเป็นเกณฑ์บ้าง นวัตกรรมที่เกิดขึ้นเพื่อสนองแนวความคิดพื้นฐานนี้  เช่น
                           1. การเรียนแบบไม่แบ่งชั้น  (Non-Graded  School)
                           2. แบบเรียนสำเร็จรูป  (Programmed  Text  Book)
                           3. เครื่องสอน (Teaching  Machine)
                           4. การสอนเป็นคณะ (Team  Teaching)
                           5. การจัดโรงเรียนในโรงเรียน (School  within  School)
                           6. เครื่องคอมพิวเตอร์ช่วยสอน (Computer  Assisted  Instruction)
                4.2 ความพร้อม (Readiness) เดิมทีเดียวเชื่อกันว่า  เด็กจะเริ่มเรียนได้ก็ต้องมีความพร้อมซึ่งเป็นพัฒนาการตามธรรมชาติ  แต่ในปัจจุบันการวิจัยทางด้านจิตวิทยาการเรียนรู้  ชี้ให้เห็นว่าความพร้อมในการเรียนเป็นสิ่งที่สร้างขึ้นได้  ถ้าหากสามารถจัดบทเรียน  ให้พอเหมาะกับระดับความสามารถของเด็กแต่ละคน  วิชาที่เคยเชื่อกันว่ายากและไม่เหมาะสมสำหรับเด็กเล็กก็สามารถนำมาให้ศึกษาได้ นวัตกรรมที่ตอบสนองแนวความคิดพื้นฐานนี้  ได้แก่  ศูนย์การเรียน  การจัดโรงเรียนในโรงเรียน นวัตกรรมที่สนองแนวความคิดพื้นฐานด้านนี้ เช่น 
                                1. ศูนย์การเรียน  (Learning  Center) 
                                2. การจัดโรงเรียนในโรงเรียน  (School  within  School) 
                                3. การปรับปรุงการสอนสามชั้น  (Instructional  Development  in  3  Phases)
                4.3 การใช้เวลาเพื่อการศึกษา  แต่เดิมมาการจัดเวลาเพื่อการสอนหรือตารางสอนมักจะจัดโดยอาศัยความสะดวกเป็นเกณฑ์  เช่น  ถือหน่วยเวลาเป็นชั่วโมง  เท่ากันทุกวิชา  ทุกวันนอกจากนั้นก็ยังจัดเวลาเรียนเอาไว้แน่นอนเป็นภาคเรียนเป็นปี  ในปัจจุบันได้มีความคิดในการจัดเป็นหน่วยเวลาสอนให้สัมพันธ์กับลักษณะของแต่ละวิชาซึ่งจะใช้เวลาไม่เท่ากัน  บางวิชาอาจใช้ช่วงสั้นๆ  แต่สอนบ่อยครั้ง การเรียนก็ไม่จำกัดอยู่แต่เฉพาะในโรงเรียนเท่านั้น  นวัตกรรมที่สนองแนวความคิดพื้นฐานด้านนี้  เช่น
                           1. การจัดตารางสอนแบบยืดหยุ่น (Flexible Scheduling)
                           2. มหาวิทยาลัยเปิด (Open University)
                           3. แบบเรียนสำเร็จรูป (Programmed Text Book)
                           4. การเรียนทางไปรษณีย์
             4.4 ประสิทธิภาพในการเรียน  การขยายตัวทางวิชาการและการเปลี่ยนแปลงของสังคม  ทำให้มีสิ่งต่างๆ  ที่คนจะต้องเรียนรู้เพิ่มขึ้นมาก  แต่การจัดระบบการศึกษาในปัจจุบันยังไม่มีประสิทธิภาพเพียงพอจึงจำเป็นต้องแสวงหาวิธีการใหม่ที่มีประสิทธิภาพสูงขึ้น  ทั้งในด้านปัจจัยเกี่ยวกับตัวผู้เรียน และปัจจัยภายนอก  นวัตกรรมในด้านนี้ที่เกิดขึ้น  เช่น
                           1. มหาวิทยาลัยเปิด
                           2. การเรียนทางวิทยุ การเรียนทางโทรทัศน์
                           3. การเรียนทางไปรษณีย์ แบบเรียนสำเร็จรูป
                           4. ชุดการเรียน


                                               ที่มา : http://www.oknation.net/blog/print.php?id=896793

ห้องเรียนกลับด้าน (Flipped Classroom)



ห้องเรียนกลับด้าน (Flipped Classroom) 
"ห้องเรียนกลับด้าน" (Flipped Classroom) เป็นแนวทางการจัดการเรียนการสอนแบบใหม่ โดยให้นักเรียน "เรียนที่บ้าน-ทำการบ้านที่โรงเรียน" ปัจจุบัน กระแส "ห้องเรียนกลับด้าน" เป็นที่นิยมอย่างมากในสหรัฐอเมริกา และในปีการศึกษา พ.ศ. 2556 นี้ ชั้นเรียนในโรงเรียนประถมศึกษาและมัธยมศึกษาของไทยก็จะนำแนวคิด "ห้องเรียนกลับด้าน" มาใช้ด้วยเช่นกัน
แนวคิดหลักของ "ห้องเรียนกลับด้าน" คือ "เรียนที่บ้าน-ทำการบ้านที่โรงเรียน" เป็นการนำสิ่งที่เดิมที่เคยทำในชั้นเรียนไปทำที่บ้าน และนำสิ่งที่เคยถูกมอบหมายให้ทำที่บ้านมาทำในชั้นเรียนแทน โดยยึดหลักที่ว่า เวลาที่นักเรียนต้องการพบครูจริงๆ คือ เวลาที่เขาต้องการความช่วยเหลือ เขาไม่ได้ต้องการให้ครูอยู่ในชั้นเรียนเพื่อสอนเนื้อหาต่างๆ เพราะเขาสามารถศึกษาเนื้อหานั้นๆ ด้วยตนเอง
ถ้าครูบันทึกวิดีโอการสอนให้เด็กไปดูเป็นการบ้าน แล้วครูใช้ชั้นเรียนสำหรับชี้แนะนักเรียนให้เข้าใจแก่นความรู้จะดีกว่า ใน "ห้องเรียนกลับด้าน" ครูจะแจกสื่อให้เด็กไปศึกษาล่วงหน้าที่บ้าน เมื่อมาเข้าชั้นเรียนในวันรุ่งขึ้น นักเรียนจะซักถามข้อสงสัยต่างๆ จากนั้นก็ลงมือทำงานที่ได้รับมอบหมายเป็นรายบุคคลหรือรายกลุ่มโดยมีครูคอยให้คำแนะนำตอบข้อสงสัย
"ห้องเรียนกลับด้าน" เป็นการเข้าใกล้การจัดการเรียนการสอนแบบ “เด็กเป็นศูนย์กลาง” (Child-center education) มากขึ้น ที่สำคัญช่วยแก้ปัญหาเรื่องการบ้านได้ด้วย
"ห้องเรียนกลับด้าน" เป็นการเรียนรู้แบบผสมผสาน เป็นรูปแบบการเรียนที่มีการนำเทคโนโลยีมาช่วยพัฒนาการสอนในชั้นเรียนอย่างเต็มที่ ครูจะมีเวลาใกล้ชิดกับนักเรียนมากขึ้นแทนที่จะใช้เวลาในการสอนหนังสือเพียงอย่างเดียว โดยครูมักบันทึกวิดีโอการสอนให้เด็กไปดูนอกชั้นเรียนแทน
ในห้องเรียนแบบเก่า ครูจะให้นักเรียนกลับไปอ่านตำราเองที่บ้านแล้วค่อยนำเนื้อหาต่างๆ ที่อ่านมาอภิปรายกันในวันถัดไป จากนั้นนักเรียนจะได้รับการบ้านที่ใช้วัดความเข้าใจต่อหัวข้อการเรียนนั้นๆ แต่ในการเรียนการสอนแบบ แบบ "ห้องเรียนกลับด้าน" นักเรียนจะเรียนรู้หัวข้อต่างๆ ด้วยตนเองก่อน โดยใช้วิดิโอการสอนที่ครูเป็นผู้ทำกลับไปศึกษาเองที่บ้าน จากนั้นในชั้นเรียนนักเรียนจะพยายามนำความรู้ที่ได้รับมาประยุกต์ในการทำงานและแก้ปัญหาต่างๆ ในชั้นเรียน
ดังนั้น งานหลักของครูคือการสอนนักเรียนเมื่อไม่เข้าใจ มากกว่าที่จะเป็นคนบอกเล่าเนื้อหาการเรียนเพียงอย่างเดียว การเรียนการสอนเช่นนี้ทำให้สามารถนำการจัดการเรียนรู้ตามความแตกต่างของผู้เรียน (Differentiate Instruction)และการเรียนโดยใช้โครงงานเป็นฐาน (Project-based learning : PBL) มาใช้ในชั้นเรียนได้ด้วย
การเรียนการสอนแบบ "ห้องเรียนกลับด้าน" ทำให้ครูมีเวลาชี้แนะนักเรียนและช่วยนักเรียนสร้างสรรค์แนวคิดต่างๆ ได้มากขึ้น นอกจากนี้ยังลดจำนวนนักเรียนที่หยุดเรียนในชั้นเรียนนั้นๆ และช่วยเพิ่มเนื้อหาสาระจากที่นักเรียนได้เรียนรู้ด้วย หลายคนให้ความเห็นว่า "ห้องเรียนกลับด้าน" อาจส่งผลเสียต่อนักเรียนที่ไม่สามารถเข้าถึงอินเทอร์เน็ตได้นอกโรงเรียน อย่างไรก็ตามครูหลายท่านก็แก้ปัญหานี้ได้ด้วยการแจก CDs หรือเตรียม Thumb drives ที่มีไฟล์วิดีทัศน์ให้นักเรียน



การเรียนการสอนแบบ Online (WBI)






      WBI หรือ Web Base Instruction เป็นการจัดกิจกรรมการสอนในรูปแบบของ Web Knowledge Based โดยใช้เทคโนโลยีทางของ Webpage เป็นศูนย์กลางในการนำเสนอเนื้อหา หรือ ดำเนินกิจกรรม หรือที่เรานิยมเรียกกันติดปากว่า “การเรียนการสอนแบบ Online” นั่นเอง

รูปแบบ WBI ได้เป็น 2 ลักษณะใหญ่ๆได้แก่
1) Asynchronous Learning Methods
เป็นการเรียนการสอนที่ผู้เรียนสามารถเรียนรู้เวลาใดก็ได้แล้วแต่ความสะดวกของตนเองโดยผู้สอนจะมีการสร้างเนื้อหาไว้ใน Web site ที่กำหนด จะมีโครงสร้างเนื้อหาในรูปแบบต่างๆ เช่น Text หรือ VDO เพื่อผู้เรียนสามารถเข้ามาศึกษาได้ และอาจมีการกำหนดช่องทางในการติดต่อผู้สอน ในกรณีที่ผู้เรียนเกิดข้อคำถามที่ต้องการใช้ผู้สอนช่วยในการแนะนำ เช่นระบบ Webboard Chatหรือ E-Mail เป็นต้น

2) Synchronous Learning Methods
เป็นการสอนในเวลาเดียวกับผู้เรียน โดยใช้เทคโนโลยีของ WEB เป็นสื่อกลางในการสอน โดยที่ผู้เรียนและผู้สอนสามารถปฏิสัมพันธ์กันในเวลาเดียวกันแต่ต่างๆสถานที่ หรือการเรียนการสอนในเวลาจริงนั่นเอง(Real Time) ซึ่งเทคโนโลยีที่ใช้จะเป็นระบบInternet ความเร็วสูงและระบบการประชุมวีดิทัศน์(VDO Conferencing) ซึ่งผู้เรียนสามารถถามคำถามต่างๆ เมื่อตนเองเกิดข้อสงสัยได้ทันทีโดยไม่ต้องมีการฝากข้อคำถามไว้

คุณสมบัติของสื่อ WBI
1)สารสนเทศ(Information)
มีการจัดเรียบเรียง กำหนดรูปแบบการนำเสนอเนื้อหา(Content) เป็นอย่างดีเนื่องจากสื่อการสอนจะ เป็นการจัดการสอนที่ไม่มีผู้สอน เนื้อหาในสื่อจะต้องมีความชัดเจน และเข้าใจได้ง่าย

2) ความแตกต่างระหว่างบุคคล(Individualization)
คือการตอบสนองความแตกต่างระหว่างบุคคล เนื่องจากผู้เรียนจะมีบุคลิกภาพ สติปัญญา ความสนใจ รวมถึงพื้นฐานความรู้ที่แตกต่างกัน ดังนั้นตัวสื่อจึงมีความจำเป็นที่จะต้องให้อิสระในควบคุมการเรียนรู้ผู้เรียน และเลือกรูปแบบการเรียนที่เหมาะสมได้เอง

3) การโต้ตอบ(Interaction)
การโต้ตอบหรือปฏิสัมพันธ์ระหว่างตัวโปรแกรมและผู้เรียนจะส่งผลให้ผู้เรียนเกิดความสนใจ อีกทั้งเกิดกิจกรรมการเรียนที่สร้างเสริมความคิด ของตนเองอีกด้วย


4) ผลป้อนกลับโดยทันที( Immediate Feedback)
สื่อจำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องมีผลลัพธ์ การเรียนซึ่งอาจจะอยู่ในรูปแบบของการประเมินผลเรียน โดยอาจจะจัดให้อยู่ในรูปแบบของแบบทดสอบ แบบฝึกหัด หรือ การตวรจสอบความเข้าใจในรูปแบบใดรูปแบบหนึ่งที่สอดคล้องกับเนื้อหา

หลักการออกแบบWBI

1) ออกแบบเนื้อหา

       ขั้นที่ 1 ขั้นในการเตรียมตัว (Preparation Stage) เป็นขั้นตอนในการเตรียมความพร้อมในด้านต่างๆ ของทีมผู้พัฒนาสื่อ มีการกำหนดบทบาทหน้าที่ของแต่ละคนในทีม หรือ การผสานงานบุคลากรที่มีความชำนาญในด้านต่างๆ

       ขั้นที่ 2 ขั้นการกำหนดเนื้อหา (Content Selection Stage) เป็นขั้นตอนในการเลือกเนื้อหาที่ต้องการที่จะมาทำสื่อ โดยจำเป็นต้องคำนึงถึงกลุ่มเป้าหมายที่จะนำสื่อไปใช้งาน

       ขั้นที่ 3 ขั้นการกำหนดเนื้อหา(Content Analysis Stage)
      ทำการวิเคราะห์แจกแจงเนื้อหาที่จะสอนว่ามีความซับซ้อนมากน้อยเพียงใด เป็นการตั้งเป้าหมายในการเรียนในแต่ละหน่วยการเรียนรู้ว่าจำเป็นต้องมีขอบเขตการสอนอย่างไร


       2) ออกแบบโครงสร้างระบบ

เป็นการกำหนดความสัมพันธ์ของข้อมูลต่างๆ ให้อยู่ในรูปแบบโครงสร้าง เพื่อให้เห็นภาพมากที่สุดโดยจะมีการใช้รูปโมเดลเข้ามาช่วยในการแสดง

       2.1 โครงสร้างแบบเส้นตรง (Linear Structure) เมื่อต้องการให้มีการนำเสนอเป็นแบบแบบลำดับตั้งแต่เริ่มต้นจนสิ้นสุดบทเรียนเรียงไปตามลำดับของเนื้อหา

  2.2 โครงสร้างแบบลำดับขั้น (Hierarchical Structure) เมื่อข้อมูลของบทเรียนเป็นแบบสัมพันธ์ที่แยกออกได้เป็นแต่ละส่วน ไม่จำเป็นต้องเรียนเป็นลำดับ โดยที่สามารถเลือกเรียนได้ว่าอยากเข้าเรียนในหน่วยเรียนใดก่อนก็ได้
       2.3 โครงสร้างแบบปิรามิด (Pyramidal Structure) เป็นโครงสร้างที่จัดที่จัดวางแหล่งข้อมูลในระดับที่ไว้ในระดับเดียวกันโดยโครงสร้างนี้จะเหมาะสมเมื่อทุกส่วนของ WEB ต้องการใช้ข้อมูลด้วยกัน


       3. ออกแบบหน้าจอ( User Interface ) 

เป็นการออกแบบหน้าจอ หรือหน้าตาของสื่อโดยส่วนนี้จะบทบาทและความสำคัญ หากออกแบบได้ไม่ดีก็จะทำให้ความน่าสนใจในตัวสื่อลดลง โดยจะแบ่งส่วนประกอบหลักๆได้ดังนี้

       (1) หน้าแรก(Home Page) อาจจะถือได้ว่าเป็นหน้าบ้าน หากหน้าแรกดูไม่ดีหรือไม่น่าสนใจ ก็จะไม่สามารถดึงดูดผู้ชมหรือผู้ข้าศึกษา ให้เข้ามาศึกษาบทเรียนได้

       (2) แถบกำหนดทิศทางการเดิน(Navigator) เป็นการจัดลำดับเส้นทางการเคลื่อนที่ไปยังหน้าต่างๆ การกำหนดเส้นทางที่ดีไม่สับสน วกวน จะทำให้ผู้ศึกษาไม่สับสน และเบื่อ ในการเข้าศึกษา

เครื่องมือที่ใช้ในการพัฒนาสื่อ WBI

       • Computer
       • Server
       • Web Tools

              o HTML Editors
              o Database
              o Interaction
              o Multimedia Tool


องค์ประกอบ Web พื้นฐาน WBI

 1.Tutorial    
 2.Lab Simulation    
 3.Pretest/Posttest    
 4.Web  board/E-Mail
 5.FAQ     
 6.Link / Search    
 7.Student Databases

ประโยชน์ของสื่อWBI

 1. ส่งเสริมการเรียนการสอนให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
 2. ลดข้อจำกัดในความแตกต่างของโอกาสในการเรียนของแต่ละบุคคลได้
 3. ผู้เรียนสามารถควบคุมกิจกรรมการเรียนตามความต้องการของตนเองได้
 4. สร้างความสนใจและความกระตือรือร้นในการเรียน
 5. ลดต้นทุนการการจัดกิจกรรมการเรียน

ข้อจำกัดของสื่อ WBI

  1. ความพร้อมในระบบสื่อสารภายในประเทศยังไม่รองรับกับการใช้งานระบบ อินเทอร์เน็ตความเร็วสูง
  2. ใช้งบประมาณในการลงทุนขั้นต้นค่อนข้างสูง
  3. ผู้เรียนขาดทักษะในการปฏิสัมพันธ์กับบุคคลอื่น
  4. ขาดบุคลากร และผู้เชี่ยวชาญในการพัฒนาสื่อ


 ประเภทของการเรียนการสอนผ่านเว็บแบ่งตามลักษณะของการสื่อสาร 
1. รูปแบบการเผยแพร่ รูปแบบนี้สามารถแบ่งได้ออกเป็น 3 ชนิด คือ

 1.1 รูปแบบห้องสมุด (Library Model) เป็นรูปแบบที่ใช้ประโยชน์จากความสามารถในการเข้าไปยังแหล่งทรัพยากรอิเล็กทรอนิกส์ที่มีอยู่หลากหลาย โดยวิธีการจัดหาเนื้อหาให้ผู้เรียนผ่านการเชื่อมโยงไปยังแหล่งเสริมต่างๆ เช่นสารานุกรม วารสาร หรือหนังสือออนไลน์ทั้งหลาย ซึ่งถือได้ว่า เป็นการนำเอาลักษณะทางกายภาพของห้องสมุดที่มีทรัพยากรจำนวนมหาศาลมาประยุกต์ใช้ ส่วน ประกอบของรูปแบบนี้ ได้แก่ สารานุกรมออนไลน์ วารสารออนไลน์ หนังสือออนไลน์ สารบัญการอ่าน ออนไลน์ (Online Reading List) เว็บห้องสมุด เว็บงานวิจัย รวมทั้งการรวบรวมรายชื่อเว็บที่สัมพันธ์กับวิชาต่างๆ

1.2 รูปแบบหนังสือเรียน (Textbook Model) การเรียนการสอนผ่านเว็บรูปแบบนี้ เป็นการจัดเนื้อหาของหลักสูตรในลักษณะออนไลน์ให้แก่ผู้เรียน เช่น คำบรรยาย สไลด์ นิยาม คำศัพท์และส่วนเสริมผู้สอนสามารถเตรียมเนื้อหาออนไลน์ที่ใช้เหมือนกับที่ใช้ในการเรียนในชั้นเรียนปกติและสามารถทำสำเนาเอกสารให้กับผู้เรียนได้ รูปแบบนี้ต่างจากรูปแบบห้องสมุดคือรูปแบบนี้จะเตรียมเนื้อหาสำหรับการเรียนการสอนโดยเฉพาะ ขณะที่รูปแบบห้องสมุดช่วยให้ผู้เรียนเข้าถึงเนื้อหาที่ต้องการจากการเชื่อมโยงที่ได้เตรียมเอาไว้ ส่วนประกอบของรูปแบบหนังสือเรียนนี้ประกอบด้วยบันทึกของหลักสูตร บันทึกคำบรรยาย ข้อแนะนำของห้องเรียน สไลด์ที่นำเสนอ วิดีโอและภาพ
ที่ใช้ในชั้นเรียน เอกสารอื่นที่มีความสัมพันธ์กับชั้นเรียน เช่น ประมวลรายวิชา รายชื่อในชั้น กฏเกณฑ์ข้อตกลงต่าง ๆ ตารางการสอบและตัวอย่างการสอบครั้งที่แล้ว ความคาดหวังของชั้นเรียน งานที่มอบหมาย เป็นต้น

1.3 รูปแบบการสอนที่มีปฎิสัมพันธ์ (Interactive Instruction Model) รูปแบบนี้จัดให้ผู้เรียนได้รับประสบการณ์การเรียนรู้จากการมีปฎิสัมพันธ์กับเนื้อหาที่ได้รับ โดยนำลักษณะของบทเรียน คอมพิวเตอร์ช่วยสอน (CAI) มาประยุกต์ใช้เป็นการสอนแบบออนไลน์ที่เน้นการมีปฏิสัมพันธ์ มีการให้ คำแนะนำ การปฏิบัติ การให้ผลย้อนกลับ รวมทั้งการให้สถานการณ์จำลอง

2.รูปแบบการสื่อสาร (Communication Model)
     การเรียนการสอนผ่านเว็บรูปแบบนี้เป็นรูปแบบที่อาศัยคอมพิวเตอร์มาเป็นสื่อเพื่อการสื่อสาร (Computer – Mediated Communications Model) ผู้เรียนสามารถที่จะสื่อสารกับผู้เรียนคนอื่นๆ ผู้สอนหรือกับผู้เชี่ยวชาญได้ โดยรูปแบบการสื่อสารที่หลากหลายในอินเทอร์เน็ต ซึ่งได้แก่ จดหมาย อิเล็กทรอนิกส์ กลุ่มอภิปรายการสนทนาและการอภิปรายและการประชุมผ่าคอมพิวเตอร์ เหมาะ สำหรับการเรียนการสอนที่ต้องการส่งเสริมการสื่อสารและปฏิสัมพันธ์ระหว่างผู้ที่มีส่วนร่วมในการเรียนการสอน

3. รูปแบบผสม (Hybrid Model)
   รูปแบบการเรียนการสอนผ่านเว็บรูปแบบนี้เป็นการนำเอารูปแบบ 2 ชนิด คือ รูปแบบการเผยแพร่กับรูปแบบการสื่อสารมารวมเข้าไว้ด้วยกัน เช่น เว็บไซต์ที่รวมเอารูปแบบห้องสมุดกับรูปแบบหนังสือเรียนไว้ด้วยกัน เว็บไซต์ที่รวบรวมเอาบันทึกของหลักสูตรรวมทั้งคำบรรยายไว้กับกลุ่มอภิปรายหรือเว็บไซต์ที่รวมเอารายการแหล่งเสริมความรู้ต่างๆ และความสามารถของจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ไว้ด้วยกัน เป็นต้นรูปแบบนี้มีประโยชน์เป็นอย่างมากกับผู้เรียนเพราะผู้เรียนจะได้ใช้ประโยชน์ของทรัพยากรที่มีในอินเทอร์เน็ตในลักษณะที่หลากหลาย

4. รูปแบบห้องเรียนเสมือน (Virtual classroom model)
      รูปแบบห้องเรียนเสมือนเป็นการนำเอาลักษณะเด่นหลายๆ ประการของแต่ละรูปแบบที่กล่าวมาแล้วข้างต้นมาใช้ ฮิลทซ์ (Hiltz, 1993) ได้นิยามว่าห้องเรียนเสมือนเป็นสภาพแวดล้อมการเรียนการสอนที่นำแหล่งทรัพยากรออนไลน์มาใช้ในลักษณะการเรียนการสอนแบบร่วมมือ โดยการร่วมมือระหว่างนักเรียนด้วยกัน นักเรียนกับผู้สอน ชั้นเรียนกับสถาบันการศึกษาอื่น และกับชุมชนที่ไม่เป็นเชิงวิชาการ (Khan, 1997) ส่วนเทอรอฟฟ์ (Turoff, 1995)กล่าวถึงห้องเรียนเสมือนว่า เป็นสภาพแวดล้อมการเรียน การสอนที่ตั้งขึ้นภายใต้ระบบการสื่อสารผ่านคอมพิวเตอร์ในลักษณะของการเรียนแบบร่วมมือ ซึ่งเป็นกระบวนการที่เน้นความสำคัญของกลุ่มที่จะร่วมมือทำกิจกรรมร่วมกัน นักเรียนและผู้สอนจะได้รับความรู้ใหม่ๆ จากกิจกรรมการสนทนาแลกเปลี่ยนความคิดเห็นและข้อมูล ลักษณะเด่นของการเรียนการสอนรูปแบบนี้ก็คือความสามารถในการลอกเลียนลักษณะของห้องเรียนปกติมาใช้ในการออกแบบการเรียนการสอนผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต โดยอาศัยความสามารถต่างๆ ของอินเทอร์เน็ต โดยมีส่วนประกอบคือ ประมวลรายวิชา เนื้อหาในหลักสูตร รายชื่อแหล่งเนื้อหาเสริม กิจกรรมระหว่าง ผู้เรียนผู้สอน คำแนะนำและการให้ผลป้อนกลับ การนำเสนอในลักษณะมัลติมีเดีย การเรียนแบบร่วมมือ รวมทั้งการสื่อสารระหว่างกัน รูปแบบนี้จะช่วยให้ผู้เรียนได้รับประโยชน์จากการเรียน โดยไม่มีข้อจำกัดในเรื่องของเวลาและสถานที่



                                                                      ที่มา : http://promsitcomed.blogspot.com/2012/11/wbi.html