วันพฤหัสบดีที่ 30 ตุลาคม พ.ศ. 2557

ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ช่วยสอน(CAI)


ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ช่วยสอน(CAI)


ประวัติความเป็นมาของคอมพิวเตอร์ช่วยสอน
·         ปี ค.. 1950 ศูนย์วิจัยของ IBM ได้พัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยงาน ด้านจิตวิทยา นับเป็นจุดเริ่มต้นของคอมพิวเตอร์ช่วยสอน
·         ปี ค.. 1958 มหาวิทยาลัยฟลอริดา สหรัฐอเมริกา พัฒนา คอมพิวเตอร์ช่วยสอน ช่วยทบทวนวิชาฟิสิกส์ และสถิติ พร้อมๆ กับ
           มหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ด ได้นำคอมพิวเตอร์ช่วยสอน มาใช้ในวิชาคณิตศาสตร์ และภาษาอังกฤษ สำหรับนักเรียนระดับมัธยมศึกษา
·         ปี ค.. 1960 มหาวิทยาลัยอิลินอย จัดทำ คอมพิวเตอร์ช่วยสอน ด้านจิตวิทยาการศึกษา และวิศวกรรมศาสตร์ ภายใต้ชื่อ PLATA CAI - Programmed Learning for Automated Teaching Operations CAI
·         ปี ค.. 1970 มีการนำคอมพิวเตอร์ช่วยสอน มาใช้ในทวีปยุโรป โดยฝรั่งเศษ และอังกฤษ เป็นผู้เริ่มต้น
·        ปี ค.. 1671 มหาวิทยาลัย Taxas และ Brigcam Young ร่วมกันพัฒนา คอมพิวเตอร์ช่วยสอน กับมินิคอมพิวเตอร์ โดยผสมผสานคอมพิวเตอร์กับโทรทัศน์ ช่วยสอนวิชาภาษาอังกฤษ และคณิตศาสตร์ ภายใต้โครงการ TICCIT - Time-shared Interactive Computer Controlled Information Television
·         ปัจจุบัน คอมพิวเตอร์ช่วยสอน ได้เข้ามามีบทบาทมากขึ้น เพราะเทคโนโลยีมัลติมีเดีย

เครื่องมือที่ใช้ในการพัฒนา CAI แบ่งออกเป็น 4 กลุ่ม คือ
1.       ภาษาโปรแกรมระดับสูง (High-level languages) เช่น  BASIC, Pascal, Logo และ C
2.       ภาษานิพนธ์บทเรียน (Authoring languages) เช่น Course writer, Pilot และ Tutor
3.       ระบบนิพนธ์บทเรียน (Authoring Systems) เช่น PHOENIX, DECAL, Icon-Author, Info Window,    LS1, SOCRATIC และ Authorware
4.       เครื่องช่วยนิพนธ์บทเรียน (Authoring Utilities) ซึ่งแบ่งออกได้อีกหลายชนิด เช่น lesson shell (ตัวอย่างโปรแกรม: Apple Shell Games), code generator (ตัวอย่างโปรแกรม: Screen Sculptor) และ library routines

ความหมายของคอมพิวเตอร์ช่วยสอน (CAI), คอมพิวเตอร์เพื่อการฝึกอบรม (CBT), ความแตกต่างของ CAI และ Presentation

คอมพิวเตอร์ช่วยสอน คืออะไร

คอมพิวเตอร์ช่วยสอน (Computer Assisted Instruction : CAI หรือบางตำราอาจเรียกว่า Computer Aided Instruction ) เป็นกระบวนการเรียนการสอน โดยใช้สื่อคอมพิวเตอร์ ในการนำเสนอเนื้อหาเรื่องราวต่างๆ มีลักษณะเป็นการเรียนโดยตรง และเป็นการเรียน แบบมีปฏิสัมพันธ์(Interactive) คือสามารถโต้ตอบระหว่างผู้เรียนกับคอมพิวเตอร์ได้
คอมพิวเตอร์ช่วยสอน ไม่ได้หมายความถึง CAI เพียงอย่างเดียว แต่ยังรวมถึงคำอื่นๆ ที่มีลักษณะใกล้เคียงกัน คือ
-          CBT               -  Computer Based Training หรือ Computer Based Teaching
-          CBE               -  Computer Based Education
-           CAL                -  Computer Aided Learning  Computer Assisted Learning
-           CMI                -  Computer Managed Instruction
-           IMMCAI         -  Interactive Multimedia CAI

โดยมีลักษณะสำคัญ 4 ประการ ซึ่งเรียกย่อๆ ว่า 4-I คือ

·         สารสนเทศ(Information )หมายถึง เนื้อหาสาระที่ได้รับการเรียบเรียง ทำให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ หรือได้รับทักษะอย่างหนึ่งอย่างใดตามที่ผู้สร้างได้กำหนดวัตถุประสงค์ไว้ การนำเสนออาจเป็นไปในลักษณะทางตรง หรือทางอ้อมก็ได้ ทางตรงได้แก่ คอมพิวเตอร์ช่วยสอนประเภทติวเตอร์ เช่นการอ่าน จำ ทำความเข้าใจ ฝึกฝน ตัวอย่าง การนำเสนอในทางอ้อมได้แก่ คอมพิวเตอร์ช่วยสอนประเภทเกมและการจำลอง
·         ความแตกต่างระหว่างบุคคล (Individualized) หมายถึง ต้องตอบสนองความแตกต่างระหว่างบุคคล การตอบสนองความแตกต่างระหว่างบุคคล คือลักษณะสำคัญของคอมพิวเตอร์ช่วยสอน บุคคลแต่ละบุคคลมีความแตกต่างกันทางการเรียนรู้ คอมพิวเตอร์ช่วยสอน เป็นสื่อประเภทหนึ่งจึงต้องได้รับการออกแบบให้มีลักษณะที่ตอบสนองต่อความแตกต่างระหว่างบุคคลให้มากที่สุด
·         การโต้ตอบ (Interactive) คือการมีปฏิสัมพันธ์กันระหว่างผู้เรียนกับคอมพิวเตอร์ช่วยสอนการเรียน การสอนรูปแบบที่ดีที่สุดก็คือเปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้มีปฏิสัมพันธ์กับผู้สอนได้มากที่สุด
·         การให้ผลป้อนกลับโดยทันที (Immediate Feedback) ผลป้อนกลับหรือการให้คำตอบนี้ถือเป็นการ เสริมแรงอย่างหนึ่ง การให้ผลป้อนกลับแก่ผู้เรียนในทันทีหมายรวมไปถึงการที่คอมพิวเตอร์ช่วยสอนที่สมบูรณ์จะต้องมีการ ทดสอบหรือประเมินความเข้าใจของผู้เรียนในเนื้อหาหรือทักษะต่าง ๆ ตามวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้
องค์ประกอบสำคัญของคอมพิวเตอร์ช่วยสอน
·         เสนอสิ่งเร้าให้กับผู้เรียน ได้แก่ เนื้อหา ภาพนิ่ง คำถาม ภาพเคลื่อนไหว
·         ประเมินการตอบสนองของผู้เรียน ได้แก่ การตัดสินคำตอบ
·         ให้ข้อมูลย้อนกลับเพื่อการเสริมแรง ได้แก่ การให้รางวัล หรือ คะแนน
·         ให้ผู้เรียนเลือกสิ่งเร้าในลำดับต่อไป
ประเภทของ CAI
รูปแบบต่างๆ ของคอมพิวเตอร์ช่วยสอน
·         เพื่อการสอน (Tutorial Instruction)
วัตถุประสงค์เพื่อ การสอนเนื้อหาใหม่แก่ผู้เรียน มีการแบ่งเนื้อหาเป็นหน่วยย่อย มีคำถามในตอนท้าย ถ้าตอบถูกและผ่าน ก็จะเรียนหน่วยถัดไป โปรแกรมประเภท Tutorial นี้มีผู้สร้างเป็นจำนวนมาก เป็นการนำเสนอโปรแกรมแบบสาขา สามารถสร้างเพื่อสอนได้ทุกวิชา
·         ประเภทการฝึกหัด (Drill and Practice)
วัตถุประสงค์คือ ฝึกความแม่นยำ หลังจากที่เรียนเนื้อหาจากในห้องเรียนมาแล้ว โปรแกรมจะไม่เสนอเนื้อหา แต่ใช้วิธีสุ่มคำถามที่นำมาจากคลังข้อสอบ มีการเสนอคำถามซ้ำแล้วซ้ำอีกเพื่อวัดความรู้จริง มิใช่การเดา จากนั้นก็จะประเมินผล
·         ประเภทสถานการณ์จำลอง (Simulation)
เพื่อให้ผู้เรียนได้ทดลองปฏิบัติกับสถานการณ์จำลอง ที่มีความใกล้เคียงกับเหตุการณ์จริง เพื่อฝึกทักษะและเรียนรู้ โดยไม่ต้องเสี่ยงหรือเสียค่าใช้จ่ายมาก มักเป็นโปรแกรมสาธิต (Demonstration) เพื่อให้ผู้เรียนทราบถึงทักษะที่จำเป็น
·         ประเภทเกมการสอน (Instruction Games)
ประเภทนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ กระตุ้นความสนใจของผู้เรียน มีการแข่งขัน เราสามารถใช้เกมในการสอน และเป็นสื่อที่ให้ความรู้แก่ผู้เรียนได้ ในแง่ของกระบวนการ ทัศนคติ ตลอดจนทักษะต่างๆ ทั้งยังช่วยเพิ่มบรรยากาศในการเรียนรู้ให้มากขึ้นด้วย
·         ประเภทการค้นพบ (Discovery)
เพื่อให้ผู้เรียน ได้มีโอกาสทดลองกระทำสิ่งต่างๆ ก่อน จนกระทั่งสามารถหาข้อสรุปได้ด้วยตนเอง โปรแกรมจะเสนอปัญหาให้ผู้เรียนได้ลองผิดลองถูก และให้ข้อมูลแก่ผู้เรียน เพื่อช่วยผู้เรียนในการค้นพบนั้น จนกว่าจะได้ข้อสรุปที่ดีที่สุด
·         ประเภทการแก้ปัญหา (Problem-Solving)
เพื่อฝึกให้นักเรียนรู้จักการคิด การตัดสินใจ โดยจะมีเกณฑ์ ที่กำหนดให้แล้วผู้เรียนพิจารณาตามเกณฑ์นั้นๆ
·         ประเภทเพื่อการทดสอบ (Test)
ประเภทนี้ไม่ได้มีวัตถุประสงค์เพื่อการสอน แต่เพื่อใช้ประเมินการสอนของครู หรือการเรียนของนักเรียน คอมพิวเตอร์จะประเมินผลในทันที ว่านักเรียนสอบได้หรือสอบตก และจะอยู่ในลำดับที่เท่าไร ได้ผลการสอบกี่เปอร์เซ็นต์

การประยุกต์ใช้คอมพิวเตอร์ช่วยสอน
การนำคอมพิวเตอร์ช่วยสอน มาใช้งาน สามารถกระทำได้หลายลักษณะ ได้แก่
·         ใช้สอนแทนผู้สอน ทั้งในและนอกห้องเรียน ทั้งระบบสอนแทนบททบทวน และสอนเสริม
·         ใช้เป็นสื่อการเรียนการสอนทางไกล ผ่านสื่อโทรคมนาคม เช่น ผ่านดาวเทียม เป็นต้น
·         ใช้สอนเนื้อหาที่ซับซ้อน ไม่สามารถแสดงข้องจริงได้ เช่น โครงสร้างของโมเลกุลของสาร
·         เป็นสื่อช่วยสอน วิชาที่อันตราย โดยการสร้างสถานการณ์จำลอง เช่น การสอนขับเครื่องบิน การควบคุมเครื่องจักรกลขนาดใหญ่
·         เป็นสื่อแสดงลำดับขั้น ของเหตุการณ์ที่ต้องการให้เห็นผลอย่างชัดเจน และช้า เช่น การทำงานของมอเตอร์รถยนต์ หรือหัวเทียน
·         เป็นสื่อฝึกอบรมพนักงานใหม่ โดยไม่ต้องเสียเวลาสอนซ้ำหลายๆ หน
·         สร้างมาตรฐานการสอน

ประโยชน์ของบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน
บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน มีประโยชน์ต่อการเรียนการสอน ดังนี้
·         สร้างแรงจูงใจในการเรียนรู้
·         ดึงดูดความสนใจ โดยใช้เทคนิคการนำเสนอด้วยกราฟิก ภาพเคลื่อนไหว แสง สี เสียง สวยงามและเหมือนจริง
·         ช่วยให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ และสามารถเข้าใจเนื้อหาได้เร็ว ด้วยวิธีที่ง่ายๆ
·         ผู้เรียนมีการโต้ตอบ ปฏิสัมพันธ์กับคอมพิวเตอร์ และบทเรียนฯ มีโอกาสเลือก ตัดสินใจ และได้รับการเสริมแรงจากการได้รับข้อมูลย้อนกลับทันที
·         ช่วยให้ผู้เรียนมีความคงทนในการเรียนรู้สูง เพราะมีโอกาสปฏิบัติกิจกรรมด้วยตนเอง ซึ่งจะเรียนรู้ได้จากขั้นตอนที่ง่ายไปหายากตามลำดับ
·         ผู้เรียนสามารถเรียนรู้ได้ตามความสนใจ และความสามารถของตนเอง บทเรียนมีความยืดหยุ่น สามารถเรียนซ้ำได้ตามที่ต้องการ
·         ส่งเสริมให้ผู้เรียนมีความรับผิดชอบต่อคนเอง ต้องควบคุมการเรียนด้วยตนเอง มีการแก้ปัญหา และฝึกคิดอย่างมีเหตุผล
·         สร้างความพึงพอใจแก่ผู้เรียน เกิดทัศนคติที่ดีต่อการเรียน
·         สามารถรับรู้ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ได้อย่างรวดเร็ว เป็นการท้าทายผู้เรียน และเสริมแรงให้อยากเรียนต่อ
·         ให้ครูมีเวลามากขึ้นที่จะช่วยเหลือผู้เรียนในการเสริมความรู้ หรือช่วยผู้เรียนคนอื่นที่เรียนก่อน
·         ประหยัดเวลา และงบประมาณในการจัดการเรียนการสอน โดยลดความจำเป็นที่จะต้องใช้ครูที่มีประสบการณ์สูง หรือเครื่องมือราคาแพง เครื่องมืออันตราย
·         ลดช่องว่างการเรียนรู้ระหว่างโรงเรียนในเมือง และชนบท เพราะสามารถส่งบทเรียนฯ ไปยังโรงเรียนชนบทให้เรียนรู้ได้ด้วย

ลักษณะของบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน
บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน ควรมีลักษณะการนำเสนอเป็นตอน ตอนสั้นๆ ที่เรียกว่า เฟรม หรือ กรอบ เรียงลำดับไปเรื่อยๆ เพื่อให้ผู้เรียนสามารถศึกษาได้ด้วยตนเอง (Self Learning) และควรจัดทำปุ่มควบคุม หรือรายการควบคุมการทำงาน เพื่อให้ผู้เรียนสามารถโต้ตอบกับคอมพิวเตอร์ได้ เช่น มีส่วนที่เป็นบททบทวน หรือแบบฝึกปฏิบัติ แบบทดสอบ หลังจากที่มีการนำเสนอไปแต่ละตอน หรือแต่ละช่วง ควรตั้งคำถาม เพื่อเป็นการทบทวน หรือเพื่อตรวจสอบความเข้าใจ ในเนื้อหาใหม่ที่นำเสนอแก่ผู้เรียน สำหรับการตอบสนองต่อการตอบคำถาม ควรใช้เสียง หรือคำบรรยาย หรือภาพกราฟิก เพื่อสร้างแรงจูงใจ ความมั่นใจในการเรียนรู้ โดยเฉพาะเนื้อหาสำหรับเด็กเล็ก นอกจากนี้ควรมีส่วนที่เสริมความเข้าใจ ในกรณีที่ผู้เรียนตอบคำถามผิด ไม่ควรข้ามเนื้อหา โดยไม่ชี้แนะแนวทางที่ถูกต้อง เกี่ยวกับเรื่องเวลาในการเรียน ควรให้อิสระต่อผู้เรียน ไม่ควรจำกัดเวลา เพื่อเปิดโอกาสให้เรียนตามความต้องการของผู้เรียนเอง เนื้อหาบทเรียนควรมีทางเลือกหลากหลาย เช่น ถ้าผู้เรียนรับรู้ได้เร็ว ก็สามารถข้ามเนื้อหาบางช่วงได้ เป็นต้น

โฉมใหม่ของ CAI
CAI on Web จัดได้ว่าเป็นโฉมหน้าใหม่ของการสร้างสื่อการเรียนการสอนด้วยคอมพิวเตอร์ โดยนำเอาเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ มาผสมผสานกับ เทคโนโลยีการศึกษา และเทคโนโลยีอินเทอร์เน็ต เนื่องจากเทคโนโลยีอินเทอร์เน็ตมีลักษณะเฉพาะ คือ มีความสามารถในการนำเสนอข้อมูลผ่านระบบ World Wide Web ซึ่งมีจุดเด่น ดังนี้
·         The Web is a Graphical Hypertext Information System การนำเสนอข้อมูลผ่านเว็บ เป็นการนำเสนอด้วยข้อมูลที่สามารถเรียกหรือโยงไปยังจุดอื่นๆ ในระบบกราฟิก ซึ่งทำให้ข้อมูลนั้นๆ มีจุดดึงดูดให้น่าเรียกดู
·         The Web is Cross-Platform ข้อมูลบนเว็บไม่ยึดติดกับระบบปฏิบัติการ (Operating System : OS) เนื่องจากเป็นข้อมูลนั้นๆ ถูกจัดเก็บเป็น Text File ดังนั้นไม่ว่าจะถูกเก็บไว้ในคอมพิวเตอร์ที่ใช้ OS เป็น Unix หรือ Windows NT ก็สามารถเรียกดูจากคอมพิวเตอร์ที่ใช้ OSต่างจากคอมพิวเตอร์ที่เป็นเครื่องแม่ข่ายได้
·         The Web is Distributed ข้อมูลในเครือข่ายอินเทอร์เน็ตมีปริมาณมากจากทั่วโลก และผู้ใช้จากทุกแห่งหนที่สามารถต่อเข้าระบบอินเทอร์เน็ตได้ ก็สามารถเรียกดูข้อมูลได้ตลอดเวลา ดังนั้นข้อมูลในระบบอินเทอร์เน็ตจึงสามารถเผยแพร่ได้รวดเร็ว และกว้างไกล
·         The Web is interactive การทำงานบนเว็บเป็นการทำงานแบบโต้ตอบกับผู้ใช้โดยธรรมชาติอยู่แล้ว ดังนั้นเว็บจึงเป็นระบบ Interactive ในตัวมันเอง เริ่มตั้งแต่ผู้ใช้เปิดโปรแกรมดูผลเว็บ (Browser) พิมพ์ชื่อเรียกเว็บ (URL : Uniform Resource Locator) เมื่อเอกสารเว็บแสดงผลผ่านเบราเซอร์ ผู้ใช้ก็สามารถคลิกเลือกรายการ หรือข้อมูลที่สนใจ อันเป็นการทำงานแบบโต้ตอบไปในตัวนั่นเอง
ดังนั้นจึงมีการพัฒนา CAI ให้อยู่ในรูปแบบของการเผยแพร่ผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต โดยมีชื่อเรียกว่า WBI (Web Based Instruction) หรือ WBT (Web Based Training) นั่นเอง
ขบวนการพัฒนา CAI on Web มีลักษณะใกล้เคียงกับการพัฒนา CAI ในรูปแบบปกติ ซึ่งจะมีข้อแตกต่างกันในเรื่องของโปรแกรมที่ใช้งานทีมงาน

โปรแกรมสำหรับพัฒนา CAI on Web
การพัฒนา CAI on Web มีจุดเด่นกว่าการพัฒนา CAI ในรูปแบบปกติ ก็คือ โปรแกรมที่นำมาใช้งานสามารถหาได้ฟรี หรือลงทุนไม่สูงมาก เมื่อเทียบกับการพัฒนาในรูปแบบปกติ เช่นโปรแกรมสร้างสื่อที่มีขาย ก็มีราคาสูงถึง แสนบาทเป็นต้น โดยสามารถแบ่งประเภทของโปรแกรมที่นำมาใช้ในการพัฒนา CAI ได้ดังนี้
·         โปรแกรมสร้างงานกราฟิก (graphic Software) มีทั้งที่ให้ดาวน์โหลดฟรี เช่น Paint Shop หรือที่จะต้องซื้อมาใช้งาน Adobe PhotoShop, Corel Draw
·         โปรแกรมสร้างภาพเคลื่อนไหว (Animation Software) เช่น Xara3D, Cool3D, Adobe Premirer, SnagIT, 3D-Studio Max
·         โปรแกรมสร้างสื่อ (Authoring Software) ได้แก่ ภาษา HTML, JavaScript, Java, PHP, ASP, Perl, HTML Generator
การเลือกโปรแกรมในการพัฒนานี้ จะต้องคำนึงถึงองค์ประกอบสำคัญบางประการ ได้แก่
กลุ่มเป้าหมาย ถ้ากลุ่มเป้าหมายเป็นเด็ก จะต้องเน้นภาพกราฟิกเป็นพิเศษ ดังนั้นควรเลือกโปรแกรมที่เน้นสร้างภาพ มิติ หรือภาพเคลื่อนไหว ในขณะที่ถ้ากลุ่มเป้าหมายเป็นนักศึกษา อาจจะต้องเน้นเนื้อหาเป็นพิเศษ มีส่วนโต้ตอบ และสามารถจำลองสถานการณ์ต่างๆ ได้ ดังนั้นโปรแกรมที่เลือกใช้ ก็ควรเป็นภาษาคอมพิวเตอร์ระดับสูง เช่น HTML, Java, JavaScript เป็นต้น
ลักษณะของสื่อ เนื่องจากสื่อ CAI มีหลายประเภท ดังนั้นการกำหนดประเภทของสื่อตั้งแต่แรกจะช่วยให้สามารถเลือกโปรแกรมได้ถูกต้อง เช่น ถ้าต้องการพัฒนาสื่อ CAI ในลักษณะ "บทเรียนทบทวนก็สามารถใช้โปรแกรมภาษา HTML หรือ HTML Genrator มาสร้างสื่อได้เลย โดยไม่ต้องลงถึงWeb Programming แต่ถ้าสื่ออยู่ในรูปของ "Testing" หรือ "Simulator" ก็จำเป็นต้องศึกษาภาษา Java เพื่อนำ Java มาใช้งาน เป็นต้น
เครื่องที่จำไปใช้งาน หากเครื่องที่จะนำไปใช้งานมี Spec. ต่ำอาจจะมีปัญหาได้ ตลอดถึงหากยังไม่มีการต่อระบบอินเทอร์เน็ต ก็จะประสบปัญหาได้เช่นกัน ทั้งนี้มีวิธีแก้ไขคือ สร้างสื่อ CAI ที่มีสองลักษณะ ได้แก่ สื่อแบบ Full Multimedia และสื่อแบบปกติ เช่น ถ้ามีการสร้างภาพเคลื่อนไหว สื่อแบบ Full Multimedia ก็อาจจะใช้ภาพเคลื่อนไหวแบบ AVI มานำเสนอ ในขณะที่สื่อแบบปกติก็อาจจะใช้ GIF animation มานำเสนอ ทั้งนี้ไม่ถือว่าเป็นการสร้างงานเพิ่มขึ้น เพราะโปรแกรมที่ใช้สร้างภาพเคลื่อนไหว ต่างก็สามารถบันทึกได้ทั้งฟอร์แมต AVI และ GIF Animation
ระบบปฏิบัติการของเครื่องแม่ข่าย (Server) เนื่องจาก CAI on Web จะต้องเผยแพร่ผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ซึ่งต้องอาศัยเครื่องแม่ข่าย (Server) ดังนั้นก่อนที่จะเลือกโปรแกรมใดๆ มาใช้ในการสร้างสื่อ ควรจะต้องศึกษาถึงความเข้ากันได้ของโปรแกรม และระบบปฏิบัติการของเครื่องแม่ข่ายก่อน เช่น ถ้าระบบปฏิบัติของเครื่องแม่ข่ายเป็น Unix ควรเลือกภาษา PHP หรือ Perl ในการสร้างระบบโต้ตอบกับผู้ใช้ และถ้าระบบปฏิบัติการเป็น Windows NT ก็สามารถเลือกใช้ ASP หรือ VB Script ได้ เป็นต้น
โปรแกรมแสดงผล (Browser) เช่นเดียวกับหัวข้อระบบปฏิบัติการของเครื่องแม่ข่าย ก่อนที่จะพัฒนาสื่อ จำเป็นต้องคำนึงถึงโปรแกรมแสดงผล หรือเบราเซอร์ด้วยเช่นกัน เพราะภาษา HTML ที่นำมาใช้ในการพัฒนาสื่อ เป็นภาษาที่ยังไม่ตาย คือ ยังมีการพัฒนาคำสั่งใหม่ๆ อยู่เรื่องๆ และโปรแกรมเบราเซอร์ก็มีการพัฒนาการรู้จำคำสั่ง HTML แตกต่างกันออกไป ก่อนที่พัฒนาสื่อ ควรประเมินก่อนว่า ผู้เรียนส่วนมาก มีโปรแกรมเบราเซอร์ค่ายไหน รุ่นไหนใช้งานมากที่สุด เพื่อให้การแสดงผลบทเรียนได้ผลลัพธ์ที่ถูกต้องที่สุด
การแสดงผลภาษาไทย เนื่องจากภาษาไทย ยังเป็นปัญหาใหญ่ในการแสดงผลผ่านเว็บ ดังนั้นผู้พัฒนาสื่อจำเป็นต้องทราบเกี่ยวกับปัญหา และวิธีการป้องกันก่อนที่จะเกิดปัญหา โดยปัญหาเกี่ยวกับภาษาไทยที่เกิดขึ้นประกอบด้วย
·         การเข้ารหัสภาษาไทย หากกำหนดค่าการเข้ารหัสภาษาไทยไม่ถูกต้องจะทำให้ไม่สามารถแสดงผลบนเบราเซอร์ได้ หรืออาจจะได้แต่ไม่ครบถ้วน สำหรับค่ากำหนดเกี่ยวกับการเข้ารหัสภาษาไทย มี ลักษณะได้แก่
1.       ข้อความภาษาไทยที่พิมพ์ลงในเอกสารเว็บ (HTML File) เก็บในรูปของอักขระภาษาไทยที่ถูกต้อง ปัญหานี้มักจะเกิดกับการสร้างเอกสารเว็บด้วย HTML Generator เช่น Macromedia Dreamweaver หรือ Adobe GoLive
2.       การกำหนดการเข้ารหัสผ่าน Tag META ดังนั้นจะต้องแก้ไข Tag META ในเอกสารเว็บ
·         ปัญหาการตัดคำภาษาไทย โปรแกรมเบราเซอร์ไม่มีฟังก์ชันในการตัดคำภาษาที่ถูกต้องตามอักขระภาษาไทย ดังนั้นผู้พัฒนาควรทำความเข้าใจกับผู้เรียนก่อนเสมอ

ทีมพัฒนา
การพัฒนาสื่อ CAI ไม่ว่าจะเป็นรูปแบบปกติ หรือ on Web ต่างจำเป็นจะต้องมีทีมงานมาร่วมด้วยเสมอ เป็นการยากที่จะทำคนเดียว โดยทีมงานสำหรับพัฒนาสื่อ CAI on Web มีบุคลากรเพิ่ม ดังนี้
·         ผู้เชี่ยวชาญด้านเนื้อหา (Content Expert)
·         นักการศึกษา (Educator)
·         ผู้เชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยีมัลติมีเดีย (Multimedia Technology Expert)
·         โปรแกรมเมอร์ (Web Programmer)
·         ผู้ดูแลและพัฒนาเว็บ (Web Master)
·         ช่างศิลป์ (Graphic Designer)
ทั้งนี้หากการพัฒนาสื่อโดยจะต้องลงทุนจัดตั้งเครื่องแม่ข่าย และดูแลระบบเองทั้งหมด ก็จำเป็นจะต้องมี "ผู้ดูแลระบบ - Web System Administrator" ด้วย

ปัญหาของการพัฒนา
ไม่ว่าจะเป็น CAI แบบปกติ หรือ CAI on Web ต่างก็มีปัญหาในการพัฒนาทั้งสิ้น สำหรับ CAI on Web มีปัญหาสำคัญๆ ดังนี้
·         ความพร้อมของระบบสื่อสาร
·         ความเร็วของสัญญาณสื่อสาร
·         ความรู้เกี่ยวกับเทคนิคการพัฒนาเว็บเพื่อสร้างสื่อ (ซึ่งเป็นเรื่องใหม่ของคนไทย)
·         ขาดการสร้างงานแบบทีม
·         รัฐบาลและองค์กรต้นสังกัดด้านการศึกษา ไม่ให้การสนับสนุน
·         หาช่างศิลป์มาช่วยงานได้ยาก

แนวทางการดำเนินการ
·         ส่งเสริมการจัดทำเนื้อหาบนอินเทอร์เน็ต
·         สร้างต้นแบบของการประยุกต์ใช้งาน CAI
·         สร้างศูนย์สนับสนุนการสร้างสื่อ CAI
·         สร้างเครือข่ายสนับสนุนการสร้างสื่อ CAI

บุคลากรในการจัดทำสื่อฯ
การจัดทำบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน จะต้องเกี่ยวข้องกับบุคลากรหลายด้าน หลายฝ่าย ที่ทำงานประสานร่วมมือกัน เพื่อให้ได้ผลที่ถูกต้อง และเหมาะสมกับการเรียนรู้ผ่านสื่อคอมพิวเตอร์ มีความยืดหยุ่น เหมาะสมกับสภาพผู้เรียนที่แตกต่างกันออกไป ดังนั้นบุคลากรในงานนี้ ได้แก่
กลุ่มผู้เชี่ยวชาญ
เป็นกลุ่มบุคคลที่มีความเชี่ยวชาญในสาขาวิชาต่างๆ รวมถึงการใช้สื่อเทคโนโลยีที่เหมาะสมกับสภาพผู้เรียน ทำหน้าที่ให้คำปรึกษาด้านต่างๆ ได้แก่
3.       ผู้เชี่ยวชาญด้านหลักสูตรและเนื้อหา
เป็นผู้ที่มีความรู้ด้านเนื้อหา หลักสูตร กำหนดเป้าหมาย และทิศทางของหลักสูตร
4.       ผู้เชี่ยวชาญด้านการสอน
เป็นผู้ที่มีประสบการณ์ทางการสอนในรายวิชานั้นๆ สามารถจัดลำดับความสัมพันธ์ และความต่อเนื่องของเนื้อหา รู้เทคนิคการนำเสนอ การสร้างบทเรียน การวัดผล
5.       ผู้เชี่ยวชาญด้านสื่อ
ทำหน้าที่ให้คำปรึกษา การออกแบบบทเรียน จัดรูปแบบการแสดงผล การเลือกใช้กราฟิก หรือสื่อต่างๆ ที่จะช่วยดึงดูดความสนใจของผู้เรียน
6.       ผู้เชี่ยวชาญด้านโปรแกรมคอมพิวเตอร์
ให้คำแนะนำการใช้โปรแกรม Authoring tools ที่เหมาะสมกับเนื้อหาที่จะนำเสนอ ตลอดจนการทำเอกสารประกอบการใช้สื่อ
กลุ่มผู้ออกแบบและสร้างบทเรียน
เป็นผู้ทำหน้าที่ออกแบบและสร้างบทเรียนโดยตรง โดยเริ่มตั้งแต่การวิเคราะห์เนื้อหา การวิเคราะห์กิจกรรม การทำสื่อประเมินผล การสร้าง Storyboard ของเนื้อหา โดยอยู่ภายใต้ความควบคุม ดูแลของ ผู้เชี่ยวชาญ จากนั้นก็นำมาลงโปรแกรมคอมพิวเตอร์
ผู้บริหารโครงการ
ทำหน้าที่จัดการ และบริหารงานต่างๆ ที่เกี่ยวกับการสร้างบทเรียน จัดหาอุปกรณ์ต่างๆ ที่จำเป็นต้องใช้ ควบคุมคุณภาพของบทเรียน ประสานงานกับกลุ่มต่างๆ ควบคุมงบประมาณต่างๆ
ส่วนประกอบในการจัดทำสื่อฯ
การจัดทำบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน จะต้องมีการวางแผน โดยคำนึงถึงส่วนประกอบในการจัดทำ ดังนี้
·         บทนำเรื่อง (Title)เป็นส่วนแรกของบทเรียน ช่วยกระตุ้น เร้าความสนใจ ให้ผู้เรียนอยากติดต่อเนื้อหาต่อไป
·         คำชี้แจงบทเรียน (Instruction)ส่วนนี้จะอธิบายเกี่ยวกับการใช้บทเรียน การทำงานของบทเรียน เพื่อสร้างความมั่นใจให้กับผู้เรียน
·         วัตถุประสงค์บทเรียน (Objective)แนะนำ อธิบายความคาดหวังของบทเรียน
·         รายการเมนูหลัก (Main Menu)แสดงหัวเรื่องย่อยของบทเรียนที่จะให้ผู้เรียนศึกษา
·         แบบทดสอบก่อนเรียน (Pre Test)ส่วนประเมินความรู้ขั้นต้นของผู้เรียน เพื่อดูว่าผู้เรียนมีความรู้พื้นฐานในระดับใด
·         เนื้อหาบทเรียน (Information)ส่วนสำคัญที่สุดของบทเรียน โดยนำเสนอเนื้อหาที่จะนำเสนอ
·         แบบทดสอบท้ายบทเรียน (Post Test)ส่วนนี้จะนำเสนอเพื่อตรวจผลวัดสัมฤทธิ์การเรียนรู้ของผู้เรียน
·         บทสรุป และการนำไปใช้งาน (Summary - Application)
ส่วนนี้จะสรุปประเด็นต่างๆ ที่จำเป็น และยกตัวอย่างการนำไปใช้งาน

การออกแบบหน้าจอของบทเรียน
เนื่องจากการจัดทำบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน เป็นการนำเสนอผ่านคอมพิวเตอร์ ดังนั้นการออกแบบหน้าจอ จึงเป็นประเด็นสำคัญด้วย เพื่อดึงดูดความสนใจ และช่วยให้จัดรูปแบบการนำเสนอที่สมดุลกันขององค์ประกอบต่างๆ บนจอภาพ เพราะถ้าเนื้อหาถึงจะดีเพียงใดก็ตาม หากหน้าจอไม่ดี หรือไม่ดึงดูด ก็ส่งผลต่อการใช้โปรแกรมได้ คุณค่าของสื่อก็จะลดลงด้วย โดยองค์ประกอบเกี่ยวกับการออกแบบหน้าจอ ได้แก่
ความละเอียดของจอภาพ
ปัจจุบันความละเอียดของจอภาพที่นิยมใช้ จะมีสองค่า คือ 640x480 pixel และ 800x600 pixel ดังนั้นควรพิจารณาถึงความละเอียดที่จะดีที่สุด เพราะหากออกแบบหน้าจอ สำหรับจอภาพ 800x600 pixel แต่นำมาใช้กับจอภาพ 640x480 pixel จะทำให้เนื้อหาตกขอบจอได้ แต่ถ้าหากจัดทำด้วยค่า 640x480 pixel หากนำเสนอผ่านจอ 800x600 pixel จะปรากฎพื้นที่ว่างรอบเฟรมเนื้อหาที่นำเสนอ
การใช้สี
เพื่อให้ผู้เรียนสามารถนั่งดู และศึกษาบทเรียนได้ดี ควรใช้สีในโทนเย็น หรืออาจจะพิจารณาองค์ประกอบร่วมกัน คือ สีของพื้น (Background) ควรเป็นสีขาวสีเทาอ่อน ในขณะที่สีข้อความ ควรเป็นสีในโทนเย็น เช่น สีน้ำเงินเข้มสีเขียวเข้ม หรือสีที่ตัดกับสีพื้น จะมีการใช้สีโทนร้อน กับข้อความที่ต้องการเน้นเป็นพิเศษเท่านั้น และไม่ควรใช้สีเกิน สีกับเนื้อหาข้อความ ไม่ควรสลับสีไปมาในแต่ละเฟรม
รูปแบบของการจัดหน้าจอ
รูปแบบของการจัดหน้าจอ ที่สมดุลกันระหว่างเมนูรายการเลือกเนื้อหาภาพประกอบ จะช่วยให้ผู้ใช้สนใจเนื้อหาได้มาก โดยมากมักจะแบ่งจอภาพเป็นส่วนๆ ได้แก่ ส่วนแสดงหัวเรื่องส่วนแสดงเนื้อหาส่วนแสดงภาพประกอบส่วนควบคุมบทเรียนส่วนตรวจสอบเนื้อหาส่วนประกอบอื่นๆ เช่น นาฬิกาแสดงเวลาหมายเลขเฟรมลำดับเนื้อหาคะแนน เป็นต้น
การนำเสนอเนื้อหาที่เป็นข้อความ
ซึ่งแรกที่ควรคำนึงถึงคือ ฟอนต์ที่นำมาใช้งาน ควรเป็นฟอนต์มาตรฐาน มีรูปแบบที่ชัดเจน มีการกำหนดขนาดที่เหมาะสมกับกลุ่มเป้าหมาย นำเสนอด้วยข้อความนำแบบสั้นๆ เพื่อดึงเข้าเนื้อหาจริง หลีกเลี่ยงการนำเสนอแบบจัดกึ่งกลาง ควรนำเสนอภาพพอประมาณ ไม่มาก หรือน้อยเกินไป จุดเน้นให้ใช้การตีกรอบสี หรือเน้นด้วยสีตัวอักษรด้วยสีโทนร้อน
รูปแบบการนำเสนอ และควบคุมบทเรียน
รูปแบบการนำเสนอ อาจจะใช้แบบรายการเลือก หรือแบบเรียงลำดับเนื้อหา หรืออาจจะใช้การคลิกไปยังส่วนประกอบต่างๆ ของภาพที่นำเสนอก็ได้ ขึ้นอยู่กับเนื้อหาที่นำเสนอนั้นๆ
                                                                                       


                                                                                        ที่มา : http://www.bus.rmutt.ac.th/~boons/cai/intro_tocai.htm

4 ความคิดเห็น: